Advertisement
หากอุทิศที่ดินให้แก่ราชการไปแล้ว จะมีวิธีการอย่างไร
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๑๕๒ /๒๕๕๕ ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับการขอคืนที่ดินที่บริจาคให้แก่รัฐไปแล้ว โดยมีข้อเท็จจริงดังนี้ กล่าวคือ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๖ บิดาของผู้ฟ้องคดีได้บริจาคที่ดิน จำนวนหนึ่งแปลงให้แก่กรมอนามัย เพื่อก่อสร้างสถานีอนามัย ซึ่งกรมอนามัยได้ก่อสร้างเป็นสานักงานผดุงครรภ์และเปิดให้บริการประชาชนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ และผู้ถูกฟ้องคดี (กรมธนารักษ์) ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ แต่เนื่องจากมีประชาชนใช้บริการสำนักงานผดุงครรภ์ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ทำให้ที่ดินมีเนื้อที่ไม่เพียงพอแก่การบริการประชาชน ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงได้มีการย้ายสถานีอนามัยไปทำการก่อสร้างในที่ดินแห่งใหม่ ที่ดินบริจาคดังกล่าวจึงถูกปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าและไม่ได้ใช้ทำประโยชน์ใดๆ มานานกว่า ๒๐ ปี ผู้ฟ้องคดีในฐานะทายาทจึงได้มีหนังสือขอคืนที่ดินแปลงดังกล่าวต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แต่กระทรวงการคลังและผู้ถูกฟ้องคดีเห็นว่า ที่ดินดังกล่าวมีสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ จึงไม่คืนที่ดินให้แก่ผู้ฟ้องคดี(
ทนายเชียงใหม่)
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า กฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ.2537) ออกตามความใน พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 ข้อ 8 ได้กำหนดให้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุคืนให้แก่ผู้ยกให้หรือทายาทของผู้ยกให้จะกระทำได้ ต่อเมื่อ (1) ที่ราชพัสดุนั้นมิใช่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ (2) ทางราชการไม่ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุนั้น ตามวัตถุประสงค์ของผู้ยกให้หรือมิได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของผู้ยกให้ภายใน 10 ปี นับแต่วันทียกที่ดินให้แก่ทางราชการ (3) ผู้ยกให้หรือทายาทของผู้ยกให้ยื่นเรื่องราวขอที่ราชพัสดุคืนภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ทางราชการแจ้งความประสงค์ที่จะไม่ใช้ประโยชน์หรือนับแต่วันที่ครบกำหนดระยะเวลาตาม (2) พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ที่ดินราชพัสดุที่ทางราชการได้มาโดยการยกให้ จากเอกชนนั้น อาจโอนกรรมสิทธิ์คืนให้แก่ผู้ยกให้หรือทายาทผู้ยกให้ได้ แต่มีเงื่อนไขว่าที่ดินราชพัสดุดังกล่าวต้องมิใช่ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า กรมอนามัยปล่อยที่ดินพิพาททิ้งไว้โดยไม่มีสิ่งปลูกสร้างและไม่มีการใช้ประโยชน์ใดๆ แล้ว
ที่ดินพิพาทจึงมีลักษณะเป็นที่ราชพัสดุที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะที่ได้เลิกใช้ประโยชน์แล้ว กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งหากได้มีการถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว ที่ดินพิพาทก็จะไม่มีสภาพเป็นที่ราชพัสดุที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะอีกต่อไป และไม่อยู่ภายใต้เงื่อนไขการห้ามโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งมีเจตนารมณ์ที่จะให้รัฐคืนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ผู้ยกให้หรือทายาทผู้ยกให้ กรณีที่รัฐไม่ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุตามวัตถุประสงค์ของผู้ยกให้ ซึ่งรวมถึงกรณีที่รัฐได้เข้าใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุ แต่ต่อมาได้เลิกใช้ประโยชน์แล้ว ดังนั้น หากหน่วยงานของรัฐ ที่เกี่ยวข้องได้ดาเนินการตราพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินในที่ดินพิพาทแล้ว ผู้ถูกฟ้องคดีย่อมสามารถพิจารณาโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวคืนให้แก่ผู้ฟ้องคดีในฐานะทายาทของผู้ยกให้ต่อไปได้จึงพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีเสนอเรื่องราวข้อเท็จจริง พร้อมความเห็นไปยังกระทรวงการคลัง เพื่อดาเนินการตราพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสาหรับที่ดินราชพัสดุพิพาท (ที่มา : ศาลปกครอง)(
ทนายความเชียงใหม่)
เครดิต :
[url]https://www.นพนภัสทนายความเชียงใหม่.com/[/url]
Tags : ทนายเชียงใหม่