***บิดานอกกฎหมาย*** เพราะอะไรเมื่อฟ้องคดีต่อศาลแล้ว มีหน้าที่ ต้องชำระค่าเลี้ยงด

Advertisement


หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ***บิดานอกกฎหมาย*** เพราะอะไรเมื่อฟ้องคดีต่อศาลแล้ว มีหน้าที่ ต้องชำระค่าเลี้ยงด  (อ่าน 14 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
saibennn9
Full Member
***

การ์ม่า: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 149


ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์










« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2019, 06:50:22 am »



ล้อแม็ก แม็ก แม็กซ์แต่งรถ

↑ ลงทะเบียนรับข่าวสาร

ล้อแม็ก

Advertisement

ตามที่เราเข้าใจกันว่า บิดา มารดา ที่จดทะเบียนสมรสเท่านั้น ที่จะมีหน้าที่ต้องมาเลี้ยงดูบุตรตามกฎหมาย การที่บิดา มารดา ของเด็กไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน บิดาจึงไม่มีหน้าที่ต้องมาเลี้ยงดูบุตร แต่ทั้งนี้ เป็นทางแก้ข้อกฎหมายดังกล่าว หรือที่เรียกว่า เทคนิคในทางกฎหมายนั้น เอง มีอย่างไรนั้นมาดูกัน
          ก่อนอื่น จะต้องทำให้บิดาเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของบุตรก่อน ต้องดำเนินการอย่าไรนั้น
          ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 กำหนดว่า “เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร”
          ตามกฎหมาย มาตรา 1547 ได้กำหนดวิธีการให้เด็กเป็นบุตรโดยถูกต้องตามกฎหมายไว้ด้วยกัน ๓ วิธี คือ
                    1.บิดา มารดา ได้จดทะเบียนสมรสกันภายหลังเด็กเกิด
                    2.บิดา ไปจดทะเบียนว่าเป็นบุตร ต่อที่ว่าการอำเภอ
                    3.ศาลพิพากษาว่า บิดานอกกฎหมาย เป็นบิดาของเด็ก
          จากหลักกฎหมายดังกล่าว ทำให้ทราบว่า หากพ่อเด็กไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสหรือจดทะเบียนว่าเด็กเป็นบุตรของตนเองแล้ว แม่เด็กมีทางเลือกทางเดียวคือ จำเป็นจะต้องฟ้องคดีต่อศาลเพื่อ ขอให้บิดาเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
          ส่วนหลักฐานในการดำเนินการเพื่อฟ้องคดีนั้น ต้องพิจารณาไปรายๆ ไป
          จากนั้น เมื่อศาลพิพากษาให้ บิดานอกกฎหมายเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย แล้ว ถือว่า เด็กเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายของบิดาแล้ว ส่งผลตามกฎหมาย คือ
          1.ทำให้เด็กสามารถเป็นทายาทโดยธรรมตามกฎหมายที่มีสิทธิรับมรดก ในฐานะผู้สืบสันดาน
          2.ก่อสิทธิหน้าที่ระหว่าง บิดา กับ เด็ก เช่น หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูเด็กจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกกรณีเด็กกระทำละเมิด เป็นต้น
          3.ความเป็นบุตร ระหว่าง บิดา กับเด็ก ให้มีผลย้อนหลังไปจนถึง เด็กเกิด
          หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูของบิดา ต่อบุตร สามารถเรียกร้องได้เท่าไหร่
เมื่อตามกฎหมายแล้ว กฎหมายกำหนดให้บิดา เป็นบิดาของเด็กนับแต่เด็กเกิด ดังนั้น บิดาย่อมมีหน้าที่อุปการะเด็กตั้งแต่เด็กเกิด แม่เด็กจึงสามารถฟ้องเรียก ค่าเลี้ยงดู จากบิดา ย้อนหลังนับแต่เด็กเกิดไปจนถึงเด็กบรรลุนิติภาวะ ได้
          ทั้งนี้ มีคำพิพากษาของศาลตัดสินเกี่ยวกับข้อกฎหมายดังกล่าวไว้ด้วย ดังนี้
          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7345/2560
          โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยซึ่งเป็นบิดา เดือนละ 10,000 บาท นับแต่วันที่โจทก์เกิดจนถึงวันฟ้องเป็นเงิน 1,720,000 บาท จำเลยให้การว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ไม่ได้ขาดอายุความตามมาตราดังกล่าว เพราะมิใช่การเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา จำเลยกลับอุทธรณ์ว่า คดีขาดอายุความตามมาตรา 1547 แทน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ประเด็นนี้เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้น จำเลยมิได้โต้แย้งโดยอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ประเด็นอายุความจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้อายุความในคดีแพ่งจะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่จำเลยต้องยกต่อสู้เป็นประเด็นตั้งแต่ในศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยไม่ยกต่อสู้ ที่ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จึงชอบแล้ว
          เดิม ป.พ.พ. มาตรา 1557 บัญญัติให้การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมีผล... (3) นับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาว่าเป็นบุตร แต่ต่อมาได้มีการแก้ไข ป.พ.พ. มาตราดังกล่าว นับแต่วันที่ 8 มีนาคม 2551 ให้มีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด บทบัญญัติดังกล่าวมีผลให้เด็กมีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายย้อนหลังไปนับแต่วันที่เด็กเกิด ย่อมมีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูได้นับแต่วันคลอดและสามารถฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรรวมกันมาเป็นคดีเดียวกับการฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรได้ทีเดียว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายหลังวันที่ ป.พ.พ. แก้ไขเพิ่มเติม การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูนับแต่วันที่โจทก์เกิดจนถึงวันฟ้องจึงชอบแล้ว หาใช่นับแต่เมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามที่จำเลยฎีกาไม่
          แม้บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1564 จะกำหนดให้บิดามารดามีหน้าที่ร่วมกันอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างเป็นผู้เยาว์อันมีลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน และในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันย่อมจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่ากันก็ตาม แต่ไม่จำเป็นเสมอไปว่าบิดามารดาต้องให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่บุตรเป็นจำนวนเท่า ๆ กันตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำพิพากษาปรับแก้ให้เท่ากัน โดยลดค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ จากที่ศาลชั้นต้นพิพากษากำหนดให้รวม 1,370,000 บาท เหลือ 685,000 บาท เพราะการกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดู ป.พ.พ. มาตรา 1598/38 กำหนดให้ศาลคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ให้ ฐานะของผู้รับ และพฤติการณ์แห่งคดี ทั้งมาตรา 1598/39 ศาลจะสั่งแก้ไขค่าอุปการะเลี้ยงดูเพิ่มขึ้นหรือลดลงในภายหลังก็ได้ แม้โจทก์มิได้ฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในปัญหาข้อนี้ แต่การกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดได้ตามที่เห็นควร แม้คู่ความมิได้ขอ และมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ค่าอุปการะเลี้ยงดูตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด 1,370,000 บาท จึงชอบแล้ว
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : ทนายเชียงใหม่

เครดิตบทความจาก : [url]https://www.xn--42cgi4cjab1btnchd1exbza5gvad6dvnqc6f.com/[/url]

Tags :  ที่ปรึกษาทางกฎหมาย



GPSราคาถูก | เครื่องฟอกอากาศในรถยนต์ | Ran Online | Ragnarok | โปรโมชั่น | เกมส์ออนไลน์

Promotion
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ