Advertisement
ธุรกิจโรงแรมท่ามกลางสงครามโรคระบาดในยุคโควิด 19 ที่แทบทุกคน ทุกธุรกิจ ต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวันแบบใหม่ หรือ New Normal โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวธุรกิจโรงแรม ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤตครั้งนี้ วันนี้ TREBS ได้หยิบยกเรื่องราวที่เกี่ยวกับธุรกิจโรงแรมจากมุมมองของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมอย่าง ดร.ศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่ม กรรมการบริหาร บมจ.ดุสิตธานี ว่าจะมีทิศทางในการบริหารธุรกิจโรงแรมให้อยู่ร่วมกับสถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างไร
ธุรกิจโรงแรมจะอยู่อย่างไรท่ามกลางสงครามโรคระบาดที่ยังไม่มีท่าทีจะจบลงง่ายๆ
“ช่วงแรกเราคิดว่าเกิดผลกระทบแรงแน่ แต่สั้น แต่ไม่ได้มองว่ามันจะลากยาวมาถึงขนาดนี้”
ธุรกิจท่องเที่ยว คือกลุ่มที่ต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงและได้รับความเสียหายมากที่สุดในช่วงที่ไวรัส COVID-19 ระบาดในช่วงที่ผ่านมา หนึ่งในธุรกิจที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยก็คือธุรกิจโรงแรมและที่พัก แม้ในช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการของธุรกิจกลุ่มนี้จะมีการปรับตัวมาตลอด แต่คราวนี้ดูเหมือนว่าครั้งนี้อาจจะยังไม่พอ
ดร. ศุภจี สุธรรมพันธุ์ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) ให้มุมมองการรับมือและจัดการกับวิกฤตโควิด-19 ของกลุ่มเครือดุสิตว่า กลุ่มดุสิตเป็นกลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ (hospitality) ที่ผ่านมาเจอสถานการณ์ดิสรัปชัน (disruption) มาเยอะแยะมากมายก่อนที่จะเจอวิกฤตโควิดด้วยซ้ำไป
วิกฤตโควิดทำทุกอย่างหยุดชะงักลงไม่ใช่แค่ในประเทศ แต่เป็นจากต่างประเทศด้วยเช่นกัน พอร์ตโฟลิโอของเรามีอยู่ประมาณ 330 กว่าแห่งใน 15 ประเทศทั่วโลก ทุกพอร์ตหยุดหมด ทำอะไรไม่ได้เลย เพราะว่าการเดินทางหยุดลง เพราะฉะนั้นรายได้ที่มาจากธุรกิจท่องเที่ยวก็หายไปโดยสิ้นเชิงในช่วงระยะเวลาที่แตกต่างกันไปเรามีพอร์ตโฟลิโออยู่ที่จีน 9 โรงแรม ก็ปิดหมดตั้งแต่ช่วงต้นปี ยกเว้นในตะวันออกกลางที่ไม่ปิดเลย แต่ก็ได้รับผลกระทบหนักหน่วงเช่นกัน เรียกว่าเป็นวิกฤติที่ใหญ่เลยก็ว่าได้
แม้ก่อนหน้านี้ธุรกิจท่องเที่ยวอาจจะเคยเจอวิกฤติในลักษณะนี้มาแล้วจากช่วงโรคระบาดอย่าง SARS หรือ MERS มาก่อน แต่ครั้งนี้ร้ายแรงกว่า เพราะปัจจุบันคนเดินทางเยอะขึ้นมาก และเมื่อเกิดเรื่องขึ้น ก็เลยได้รับความเสียหายไปเต็มๆ
“ธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทยถือเป็นธุรกิจต้นทางของธุรกิจอื่นๆ ที่ตามมา ถ้ามองในแง่ผลกระทบกับจีดีพี กว่าครึ่งมาจากธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ดังนั้นเมื่อเกิดผลกระทบ ก็เลยทำให้ไทยมีความตึงตัวมากกว่าประเทศอื่นๆ ในละแวกเดียวกัน” อย่างไรก็ดี เมื่อเจอวิกฤตครั้งนี้เมื่อประมาณต้นปี โจทย์แรกที่กลุ่มดุสิตกังวลและโฟกัสก็คือเรื่องความปลอดภัยและสุขอนามัย Safety และ Hygiene ของลูกค้าและพนักงานเป็นเรื่องสำคัญ ช่วงแรกเราคิดว่าเกิดผลกระทบแรงแน่ แต่สั้น คิดว่าสัก 3-4 เดือนน่าจะเอาอยู่ และน่าจะกลับมาฟื้นตัวได้ประมาณเดือนกรกฎาคม การจัดการกับธุรกิจก็คือดูแลเรื่องพนักงานก่อน แล้วก็ปรับในเรื่องไฟแนลเชียล แต่ไม่ได้มองว่ามันจะลากยาวมาถึงขนาดนี้
เพราะฉะนั้นในการปรับครั้งนี้ จึงต้องดู 3 ส่วนไปพร้อมๆ กัน
1.Business Model ว่าควรจะเป็นอย่างไร
2.คือเรื่อง Financial Model เพราะว่ารายได้หายไปเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ต้นทุนคงที่มีอยู่ค่อนข้างสูง ต้นทุนคงที่ของธุรกิจบริการก็คือคน แต่เราก็ต้องเก็บคนเอาไว้ เพราะฉะนั้นเราจึงมาดูว่าfinancial model เราเป็นยังไง ต้องบริหารจัดการปรับแต่งมัน บางตัวที่เราคิดว่าไม่ได้ให้รีเทิร์นที่ดีก็ต้องตัดทิ้ง บางตัวที่สามารถจะทำต่อได้ เราก็ต้องปรับใส่อะไรเข้าไปเพื่อจะปั้นให้ขึ้นมาได้ ดังนั้น Financial Structure จึงต้องทำค่อนข้างเยอะ
3.คือ Organizational Structure เพราะทุกธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจบริการมันเดินด้วย “คน” เพราะฉะนั้นเราจึงทำเรื่องBusiness Transformationและ Technology Transformationเอาเทคโนโลยีมาเปิด เพื่อให้พนักงานของเราสามารถตอบโจทย์ในสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในโลกใหม่ได้อย่างไร
ในส่วนBusiness Model ดร.ศุภจียังให้มุมมองว่า ปัจจุบันมีการพูดกันถึงเรื่องดิสรัปชันค่อนข้างมาก และมีการถามกันมากว่าปัจจุบันconsumerหรือผู้บริโภคต้องการอะไร? ซึ่งปัจจุบันสิ่งที่consumer ต้องการในทุกอุตสาหกรรมคือ “ต้องการอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ต้องได้” I want what I want when I want it ในอดีตอาจจะมีความต้องการอย่างนี้เหมือนกัน แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีช่วยทำให้เราสามารถจะส่งมอบให้กับผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น
ดังนั้นไม่ว่าเราจะอยู่ในธุรกิจไหน ถ้าเราตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคนี้ได้ เราก็สามารถที่จะเดินหน้าต่อได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องทำเรื่อง “ความยั่งยืน” หรือ sustainabilityซึ่งนอกจากจะทำอย่างไรไม่ให้โลกเรามีปัญหาแล้ว แต่sustainability ในโลกของhospitality มันยังมีมุมเรื่อง self-sustained ด้วย
รวมถึงเรื่อง Environment Sustainable ที่ได้มีการคุยกันเรื่องการลดก๊าซเรือนกระจกต่างๆเพราะเหล่านี้ได้กลายเป็นบริบทหนึ่งในการท่องเที่ยวไป และต้องนำมาอยู่ในมุมของการทำธุรกิจ hospitality ด้วย รวมไปถึงเรื่องของ zero waste ก็ต้องมีการดูแลจัดการ มีการคุยกันในเรื่องcircular economyดูว่าเราจะสามารถนำของต่างๆ มารีไซเคิลได้อย่างไร
เป็นอย่างไรกันบ้าง สำหรับเรื่องราวในมุมมองการรับมือและจัดการกับวิกฤตโควิด-19 ของผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ ด้านธุรกิจโรงแรม และสำหรับท่ามกลางวิกฤติโรคระบาดนี้ ทางศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (
www.area.co.th) ได้จัดงานสัมมนา เพื่อการวางกลยุทธ์สำหรับโรงแรมท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 ซึ่งโรงแรมบางแห่งอาจจำเป็นต้องการ เราควรขาย ณ ราคาเท่าไหร่กันแน่จึงจะสมเหตุสมผล และในฝั่งผู้ซื้อ ควรซื้อในราคาเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม การประเมินค่าโรงแรมในยุคไร้นักท่องเที่ยวจะเป็นอย่างไร ถ้ามีหนี้จะปรับโครงสร้างหนี้อย่างไร รัฐบาลควรจัดตั้งกองทุน “ตึ๊ง” หรือขายฝากโรงแรมอย่างไร หรือภาวะขณะนี้ เราควรปิดโรงแรมไว้สัก 2 ปีดีกว่าหรือเปิดโรงแรมไว้โดยมีอัตราการครอบครองที่ 30% ดีกว่ากัน สำหรับท่านที่สนใจสามารถเข้าร่วมงาน
“สัมมนา: กลยุทธ์ซื้อ-ขายโรงแรมในยุคโควิด-19” ในวันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09:00 - 17:00 น. ณ โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย >>>>>> https://bit.ly/3lJysxg <<<<<
และสำหรับท่านที่ต้องการรับบริการการประเมินค่าทรัพย์สิน สามารถติดต่อฝ่ายประเมินค่าทรัพย์สิน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ได้ที่ โทร.02-295-3905 ต่อ 114 (คุณสัญชัย) หรือ Email : area@area.co.th หรือ Line ID : @areavaluation หรือคลิก https://lin.ee/8pZYu1C
ขอขอบคุณที่มา :
[1] Energy Ambition
[2] ดร.ศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่ม กรรมการบริหาร บมจ.ดุสิตธานี