Advertisement
ไม่ใช่แค่สวย แต่ปลอดภัย ใช้งานได้ทุกคน กับการออกแบบห้องน้ำด้วยแนวคิด Universal Design ห้องน้ำอาจเป็นที่ที่อันตรายมากกว่าที่คิด จากการสำรวจของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) พบว่าในแต่ละปี มีคนมากกว่า 235,000 คนที่ต้องเข้าห้องฉุกเฉิน เพราะประสบอุบัติเหตุในห้องน้ำ และ 14% ของกลุ่มคนเหล่านั้น ประสบอุบัติเหตุร้ายแรงถึงขนาดต้องนอนโรงพยาบาล
เช่นเดียวกับการที่หลายประเทศทั่วโลกเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ที่กลุ่มของคนอายุมากกว่า 60 ปี มีมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงอายุอื่นๆ แน่นอนว่า ด้วยวัยที่สูงขึ้น ทำให้การเคลื่อนไหวต่างๆ เช่น การเดิน การลุก การนั่ง ทำได้ยากขึ้นด้วย รวมถึงผู้สูงวัยหลาย ๆ คนอาจต้องใช้วีลแชร์ ทำให้ผู้สูงอายุใช้ห้องน้ำได้ยากกว่าเดิมอย่างมาก
จะดีกว่าไหม ถ้าห้องน้ำของคุณได้รับการออกแบบเพื่อการใช้งานที่ปลอดภัยของคนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะมีช่วงอายุ เพศ หรือ สภาพร่างกายอย่างไร และนั่นทำให้แนวคิด “Universal Design” หรือการออกแบบเพื่อทุกคน ได้รับการพูดถึงอย่างต่อเนื่อง เพราะหัวใจสำคัญของ Universal Design คือ การออกแบบที่ไม่ได้คำนึงถึงเพียงความสวยงาม แต่ใส่ใจถึงการใช้งานจริงของคนทุกกลุ่ม เพื่อให้คนทุกกลุ่มสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียม
แนวคิด UNIVERSAL DESIGN คืออะไร ? แนวคิด Universal Design การออกแบบเพื่อทุกคน หรือ “อารยสถาปัตย์” เป็นแนวคิดในการออกแบบที่เป็นมิตรสำหรับทุกคน ทั้งการออกแบบสถานที่ การออกแบบของใช้ต่าง ๆ เพื่อให้ตอบโจทย์ในการใช้งานของคนทุกรูปแบบ โดยไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ ผู้พิการ คนปกติและเด็กเล็ก
เมื่อนักออกแบบนำแนวคิด
Universal Design มาเป็นหลักในการออกแบบ ก็จะส่งผลให้ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ได้อย่างกว้างขวาง ไม่มีข้อจำกัดในการใช้งาน การใช้ชีวิตร่วมกันของคนทุกกลุ่มนั้น ก็จะมีความเสมอภาคหรือเท่าเทียมกัน โดยไม่มีข้อจำกัดเกิดขึ้น
“แนวคิดของ
Universal Design คือการเอาใจเขามาใส่ใจเรา เป็นการคิดแบบเห็นอกเห็นใจ ผมว่าโลกปัจจุบันเราก็ต้องการแค่นี้แหละ” – ซาโตชิ คานากาว่า –
UNIVERSAL DESIGN กับการออกแบบห้องน้ำสำหรับทุกคนในครอบครัว การนำแนวคิด
Universal Design มาร่วมในการออกแบบห้องน้ำนั้น นอกจากจะเพิ่มอัตถประโยชน์ให้กับสมาชิกในครอบครัวในปัจจุบันได้อย่างมากแล้ว การออกแบบด้วยแนวคิดนี้ ยังคงคิดเผื่อไปยังครอบครัวที่จะมีการเปลี่ยนแปลงสมาชิกในครอบครัวอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการรองรับสมาชิกใหม่ของครอบครัว หรือการออกแบบเผื่อไปยังสมาชิกในครอบครัวที่กำลังเข้าสู่ช่วงอายุที่สูงขึ้น [/size]
และนี่คือตัวอย่างของประโยชน์ที่ครอบครัวจะได้รับ จากการออกแบบห้องน้ำด้วยแนวคิด Universal Design
-เพิ่มความปลอดภัยในบ้านที่มีเด็กหรือผู้สูงอายุ
-มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้โดยง่าย
-นอกจากใช้งานได้ง่ายแล้ว ยังมีทัศนียภาพที่สวยงามอีกด้วย
-เพราะการออกแบบห้องน้ำนั้น ไม่ได้คำนึงถึงเพียงความสวยงามเท่านั้น แต่ยังใส่ใจถึงการใช้งานจริงของสมาชิกทุกคนในครอบครัวอีกด้วย
ปัจจัยต่าง ๆ ที่ควรพิจารณาเมื่อจะเริ่มต้นสร้างหรือรีโนเวทห้องน้ำ
เมื่อถึงเวลาที่จะทำการรีโนเวทห้องน้ำ หรือต้องการที่จะปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นในการใช้งาน นี่คือตัวอย่างการออกแบบห้องน้ำ ด้วยหลัก Universal Design ที่ผู้ใช้งานทุกคนสามารถใช้ได้อย่างสะดวกสบาย และปลอดภัย
ประตู
-ประตูห้องน้ำทั่วไปจะมีความกว้างประมาณ 76 – 82 เซนติเมตร ซึ่งแคบไปสำหรับผู้ใช้วีลแชร์ แนะนำให้ขยายขนาดของประตูเป็น 91 เซนติเมตร เช่นเดียวกับการออกแบบประตูให้เปิดออกจากตัว แทนที่จะเปิดเข้าหาตัว จะช่วยให้ผู้ใช้วีลแชร์เข็นรถเข้า – ออกห้องน้ำได้สะดวกขึ้น และเปลี่ยนลูกบิดประตูจากแบบหมุน เป็นแบบก้านโยก จะช่วยให้ผู้สูงอายุที่อาจมีปัญหากล้ามเนื้อมืออ่อนแรง เปิดประตูห้องน้ำได้ง่ายขึ้นเช่นกัน
ธรณีประตู
-ทางเข้าห้องน้ำไม่ควรมีธรณีประตูกั้น เพื่อให้ผู้ที่ใช้วีลแชร์สามารถเข็นรถเข้าไปได้ และป้องกันปัญหาการสะดุดล้มอีกด้วย และยังรวมไปถึงการใช้งานห้องน้ำของเด็กเล็ก ที่อาจจะไม่มีความระมัดระวังในการก้าวข้ามธรณีประตูมากเพียงพอ
ผนัง
-ผนังและบริเวณประตูควรมีสีที่แตกต่างจากพื้นอย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ที่มีปัญหาทางการมองเห็น สามารถกะระยะของห้องน้ำได้อย่างถูกต้อง
พื้นที่ในห้องน้ำ
-ห้องน้ำควรมีพื้นที่ว่างอย่างน้อย 152 เซนติเมตร เพื่อให้ผู้ใช้วีลแชร์สามารถกลับรถเข็นได้ หรือในบ้านที่มีเด็กทารก อาจจะต้องการพื้นที่เพิ่มเติมในการดูแล เพราะอุปกรณ์ของเด็กบางอย่างนั้นไม่สามารถใช้ร่วมกันกับผู้ใหญ่ได้
พื้นห้องน้ำ
-พื้นห้องน้ำต้องป้องกันการลื่นล้มได้ ควรเลือกใช้กระเบื้องที่ผิวด้าน และเป็นแผ่นเล็ก ๆ มาต่อกัน เพราะกาวยาแนวที่มาเชื่อมกระเบื้องให้ติดกันจะช่วยป้องกันการลื่นได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ควรปูกระเบื้องให้เรียบเสมอกัน เพื่อป้องกันปัญหาการสะดุดล้ม และไม่ควรวางของไว้ที่พื้นห้องน้ำ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้
แสงสว่าง
-คนอายุเกิน 60 ต้องการแสงสว่างมากกว่าคนอายุ 20 ถึง 3 เท่า ด้วยเหตุนี้ จึงควรติดตั้งไฟให้ส่องสว่างได้ทั่วทั้งห้อง ไม่ให้มีมุมมืดอยู่ เพื่อป้องกันปัญหาการสะดุดล้ม หรือการเดินไปเตะขอบผนัง
ชั้นวางของ
-ไม่ควรใช้ชั้นวางของแบบติดผนังใกล้กับฝักบัว เพราะอาจเกิดปัญหาคนเดินชนและบาดเจ็บได้ ควรเปลี่ยนเป็นชั้นวางของแบบเจาะผนังจะดีกว่า และถ้าบ้านไหนมีเด็กทารกจะพบว่าอุปกรณ์สำหรับเด็กนั้น ค่อนข้างใช้พื้นที่ในการจัดเก็บ มีจำนวนชิ้นที่มาก และยังต้องการความสะดวกในการหยิบมาใช้งานอีกด้วย
ตะขอแขวนผ้าเช็ดตัว
-กรณีที่พื้นที่ขอห้องน้ำจำกัด ควรเปลี่ยนมาใช้ตะขอติดผนังเพื่อแขวนผ้าเช็ดตัวแทนการใช้ราว เพราะใช้เนื้อที่น้อยกว่า และควรติดตั้งตะขอแขวนผ้าเช็ดตัวที่ความสูง 120 เซนติเมตร เพื่อให้เด็ก ผู้ใช้วีลแชร์ หรือผู้มีปัญหาที่หัวไหล่สามารถใช้งานได้สะดวก
อ่างล้างมือ
-ควรใช้อ่างล้างมือแบบติดผนัง เพื่อให้ใต้อ่างล้างมือมีพื้นที่ว่างให้ผู้ใช้วีลแชร์สามารถสอดขาเข้าไปได้ และใช้หัวก๊อกน้ำแบบก้านโยกแทนแบบหมุน จะช่วยให้ผู้ที่มีปัญหากล้ามเนื้อมืออ่อนแรงใช้งานได้สะดวกขึ้น
-ในปัจจุบันนั้นมีการใช้เทคโนโลยีในการออกแบบ ก๊อกน้ำอัตโนมัติ หรือ ปากก๊อกน้ำที่สามารถ เปิด-ปิดน้ำด้วยระบบเซ็นเซอร์ สามารถอำนวยความสะดวกแก่เด็กและผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี
โถสุขภัณฑ์
-โถสุขภัณฑ์ทั่วไปจะมีความสูงอยู่ที่ 35 – 38 เซนติเมตร ซึ่งมีระดับต่ำกว่าเก้าอี้ทั่วไป ลองเปลี่ยนมาใช้โถสุขภัณฑ์ที่มีความสูง 43 – 48 เซนติเมตร (รวมฝารองนั่ง) ซึ่งเป็นความสูงเดียวกับเก้าอี้ จะช่วยให้ผู้ใช้ไม่ต้องก้มหลังและงอเข่ามากนัก และช่วยให้ผู้ใช้วีลแชร์สามารถย้ายตัวเองจากรถเข็นไปนั่งบนโถสุขภัณฑ์ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
และถ้าเป็นไปได้ควรเลือกใช้ โถสุขภัณฑ์แบบอัตโนมัติ ช่วยอำนวยความสะดวกและความสะอาด แถมยังลดพื้นที่ในการติดตั้งและใช้งานสายชำระได้อีกด้วย
ฝักบัว
-หลาย ๆ บ้านใช้ฝักบัวแบบติดผนัง แบบที่เราคุ้นเคยกันตามโรงแรม ถึงอย่างนั้นควรมีฝักบัวแบบสายอ่อน ที่ผู้ใช้สามารถถือไว้ในมือเอาไว้ด้วย เพื่อใช้อาบน้ำเด็กเล็ก หรือ สัตว์เลี้ยง หรือ ใช้เพื่อชำระล้างเฉพาะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ง่ายขึ้น
-ปัจจุบันทางแบรนด์ KUDOS ได้จำหน่าย ฝักบัวกรองคลอรีที่นั่งสำหรับอาบน้ำ
-ควรติดตั้งที่นั่งสำหรับอาบน้ำที่มั่นคง แข็งแรง เช่น การทำที่นั่งอาบน้ำแบบติดผนัง หรือใช้เก้าอี้ที่แข็งแรงไม่โยกและไม่เคลื่อนที่ไปมาบนพื้นเปียก เพื่อให้ผู้ใช้วีลแชร์ หรือผู้ที่มีปัญหาเรื่องการยืน ได้อาบน้ำอย่างสะดวก
ราวจับ
-บริเวณฝักบัว ซึ่งเป็นพื้นที่เปียกของห้องน้ำ มักก่อให้เกิดปัญหาการลื่นล้ม ควรติดตั้งราวจับข้างฝักบัว เพื่อช่วยในการทรงตัว โดยที่ราวจับต้องไม่ได้ติดเพื่อความสวยงามเท่านั้น แต่ต้องติดตั้งกับผนังอย่างมั่นคง ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างของการใช้หลัก Universal Design มาใช้ในการออกแบบห้องน้ำ เพื่อให้ห้องน้ำเป็นพื้นที่ให้สมาชิกในครอบครัวสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก สบาย ปลอดภัย ได้เหมือนกันทุกคน
KUDOS (คูโดส) แบรนด์นวัตกรรมอุปกรณ์ในห้องน้ำคุณภาพสูง ให้ความสำคัญในคุณภาพสินค้าและฟังก์ชั่นการใช้งาน ควบคู่ไปกับการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์
Website : [url]https://kudos.co.th/universal-design-bathroom-for-all/ [/size]