การกำเนิดของเพลงชาติไทย

Advertisement


หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การกำเนิดของเพลงชาติไทย  (อ่าน 78 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
raraymondas
Drift King
*****

การ์ม่า: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 37247


ดูรายละเอียด










« เมื่อ: มีนาคม 21, 2016, 11:12:13 am »



ล้อแม็ก แม็ก แม็กซ์แต่งรถ

↑ ลงทะเบียนรับข่าวสาร

ล้อแม็ก

Advertisement







เพลงชาติไทย



ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้มีการใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ต่างชาติที่เสด็จมาเยี่ยมเยือนประเทศสยามตามธรรมเนียม แม้เพลงสรรเสริญพระบารมีจะไม่ใช่เพลงชาติของประเทศสยามอย่างเป็นทางการ แต่ถืออนุโลมว่าเป็นเพลงชาติได้ตามหลักพฤตินัย 
 แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในพ.ศ.2475 คณะราษฎรได้ประกาศให้ใช้เพลงชาติมหาชัย ประพันธ์เนื้อร้องโดย เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี หรือ สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นเพลงชาติใช้ชั่วคราวระหว่ารอพระเจนดุริยางค์แต่งเพลงชาติใหม่ เเต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมจากประชาชนเท่าไหร่นัก และต่อมาจึงได้เปลี่ยนมาเป็นเพลงชาติที่แต่งทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการเเทนเพลงสรรเสริญพระบารมี






พระเจนดุริยางค
 หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในวันที่24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ผ่านไปประมาณ 5 วันแล้ว พระเจนดุริยางค์รู้ภายหลังว่า หลวงนิเทศกลกิจ เป็น1ในสมาชิกคณะราษฎร และหลวงนิเทศกลกิจ ได้กลับมาขอร้องให้ท่านช่วยแต่งเพลงชาติอีกครั้ง โดยอ้างว่าเป็นความต้องการของคณะผู้ก่อการ ท่านเห็นว่าคราวนี้หมดหนทางจะบ่ายเบี่ยง เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองในตอนนั้นอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ จึงขอเวลาในการแต่เพลงนี้ 7วัน และเเต่งสำเร็จในวันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2475 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ท่านได้กำหนดนัดหมายไว้ ขณะที่ท่านนั่งอยู่บนรถรางสายบางขุนพรหม-ท่าเตียน เพื่อไปปฏิบัติราชการที่สวนมิสกวัน ได้เรียบเรียงเสียงประสานสำหรับให้วงดุริยางค์ทหารเรือบรรเลง โดยเลือกใช้ทำนองคล้ายคลึงกับเพลงมาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอและมอบโน๊ตเพลงนี้ให้หลวงนิเทศกลกิจนำไปบรรเลง ในการบรรเลงดนตรีประจำสัปดาห์ที่พระที่นั่งอนันตสมาคมในวันพฤหัสบดีถัดมา พร้อมทั้งกำชับว่าให้ปิดบังชื่อผู้เเต่งเพลงนี้เอาไว้ด้วย
 ต่อมาหนังสือพิมพ์ศรีกรุงได้ลงข่าวเรื่องการประพันธ์เพลงชาติใหม่โดยเผยว่า พระเจนดุริยางค์เป็นผู้แต่งทำนองเพลงนี้ ทำให้พระเจนดุริยางค์ถูกเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ เสนาบดีกระทรวงวัง ตำหนิอย่างรุนแรงในเรื่องนี้ แม้ภายหลังพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี ได้ชี้เเจงว่าท่านและสมาชิกสภาผู้เเทนราษฎรเป็นผู้คิดการแต่งเพลงนี้ และเพลงนี้ก็ยังไม่ได้รับรองว่าเป็นเพลงชาติเนื่องจากยังอยู่ในระหว่างการทดลองก็ตาม แต่พระเจนดุริยางค์ก็ได้รับคำสั่งปลดจากทางราชการให้รับเบี้ยบำนาญ ฐานรับราชการครบ30ปี และหักเงินเดือนครึ่งหนึ่งเป็นเงินบำนาญ อีกครึ่งหนึ่งที่เหลือเป็นเงินเดือน โดยได้รับราชการต่อไปในอัตราเงินเดือนใหม่นี้ ในเดือนตุลาปีเดียวกันนั้นเอง
 เนื้อร้องของเพลงชาตินั้น คณะผู้ก่อการได้ทาบทามให้ขุนวิจิตรมาตรา หรือ สง่า กาญจนาคพันธ์ เป็นผู้ประพันธ์โดยคำร้องที่แต่งขึ้นนั้นมีความยาว 2บท สันนิษฐานว่าเสร็จอย่างช้าก่อนวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2475 เนื่องจากมีการค้นพบโน๊ตเพลงพร้อมด้วยเนื้อร้องซึ่งตีพิมพ์โดยโรงพิมพ์ศรีกรุง ซึ่งลงวันที่ตีพิมพ์ในวันดังกล่าว แม้เพลงนี้จะได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไปก็ตาม แต่เพลงนี้ก็ยังไม่ได้มีการประกาศเป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการ และมีการจดจำต่อๆกันไปเรื่อยๆ โดยไม่มีใครรู้ที่มาที่ชัดเจน และมีปรากฏว่า มีการคัดลอกเนื้อเพลงชาติของขุนวิจิตรมาตราส่งเข้าประกวดเนื้อเพลงชาติฉบับราชการ ในปี พ.ศ.2476 โดยอ้างว่าตนเองเป็นผู้แต่ง



[url=http://1.bp.blogspot.com/-R68ct_PjxxA/Vq8SHTnHhgI/AAAAAAAAC7E/K3s2MXO-Wvw/s1600/%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2.jpg]



ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)



เนื้อร้องที่ขุนวิจิตรมาตราประพันธ์เริ่มแรกสุดแต่ไม่เป็นทางการและเป็นฉบับต้องห้าม ก่อนจะมีการแก้ไขเมื่อมีการประกวดเนื้อเพลงชาติฉบับราชการ ในพ.ศ.2476 มีดังนี้ (โปรดเทียบกับเนื้อร้องฉบับราชการ พ.ศ.2477 ในหัวข้อ เพลงชาติไทย ฉบับ พ.ศ.2475 และ พ.ศ.2477)

แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตต์แดนสง่า สืบชาติไทยดึกดำบรรพ์โบราณลงมา ร่วมรักษาเอกราษฎร์ชนชาติไทย บางสมัยศัตรูจู่มารบ ไทยสมทบสวนทัพเข้าขับไล่ ตะลุยเลือดหมายมุ่งผดุงผะไท สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา อันดินแดนสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า เอกราษฎร์คือกระดูกที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ ยึดอำนาจกุมสิทธิ์อิสสระเสรี ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้ เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย สถาปนาสยามให้เทิดชัยไชโย

ขอบคุณบทความจาก : [url]http://xn--42cgj8bk2ba0bcw3lg1a1ne5e.blogspot.com/[/url]

Tags : เพลงชาติไทย, ร้องเพลงชาติไทย, โหลดเพลงชาติไทย



GPSราคาถูก | เครื่องฟอกอากาศในรถยนต์ | Ran Online | Ragnarok | โปรโมชั่น | เกมส์ออนไลน์

Promotion
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ