Advertisement
รถเข็นผู้สูงอายุอีกแบบคือ รถเข็นนั่งผู้ป่วยแบบเลเวอร์ไดร์ฟ (Lever Drive)
ที่ขับเคลื่อนตัวรถไปข้างหน้าด้วยการใช้เครื่องงัดที่ถูกชักไปด้านหลังและด้านหน้า บางรุ่นออกแบบมาเพื่อ
ช่วยให้ผู้นั่งขับเคลื่อนเองโดยการใช้เท้าข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง แทนที่การใช้ขอบมือจับหรือล้อเข็น
เพราะการขับเคลื่อนแบบใช้เท้าสำหรับผู้ที่นั่งรถเข็นคนแก่ถือเป็นเรื่องปกติ สำหรับผู้ป่วยผู้สูงอายุที่มีข้อจำกัดของแขน
เช่น แขนอ่อนแรง อีกทั้งการเคลื่อนไหวแบบใช้เท้า ยังช่วยให้ัผู้ป่วยได้ออกกำลังขา เพื่อเพิ่มการไหลเวียน
ของเลือดได้ด้วย
ส่วนรถเข็นคนชราที่มีผู้ช่วยเข็น หรือรถเข็นคนชราที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายนั้น ล้อหลังอาจไม่มีมือจับหมุนหรือ
ขอบมือจับและล้อหลังอาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า ที่พบบ่อยก็คือภายในโรงพยาบาล หรือ ตามสนามบิน
ซึ่งส่วนใหญ่รถเข็นคนไข้ในสนามบิน จะถูกออกแบบมาให้พอดีกันกับทางผ่านภายในตัวเครื่องบิน
อย่างไรก็ตามรถเข็นนั่งผู้ป่วยที่มีให้บริการในพื้นที่ต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า
ไม่ว่าจะเป็น ท่าอากาศยาน สวนสนุก หรือ ห้างสรรพสินค้า มักจะเป็นรุ่นที่ยังไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลง
รวมทั้งมีนํ้าหนักมาก เพราะเก้าอี้
รถเข็นผู้ป่วยที่มีนํ้าหนักเบา จัดเป็นผลิตภัณฑ์ชั้นดี (high end)
ที่ต้องใช้ทุนในการผลิตสูงนั่นเอง
ในโอกาสนี้ต้องขอขอบคุณเจ้าของไอเดียทุกคน ทั้งในอดีตจนถึงยุคปัจจุบัน ที่มีส่วนสร้างสรรค์ยานพาหนะที่แสนจะมีคุณประโยชน์นี้
ให้ผู้ที่มีความจำเป็นได้ใช้งาน และหวังว่าในอนาคตจะมีรถเข็นคนแก่ใหม่ๆ ที่่าวยเปิดโลกกว้าง
เปิดโอกาสให้แก่ผู้ป่วยผู้สูงวัย และ ผู้พิการ พัฒนาออกมาอีก เพื่อให้เหมาะสมกับบุคคลเหล่านั้น
Tags : รถเข็นผู้ป่วย,รถเข็นผู้สูงอายุ,รถเข็นปรับนอนได้