Advertisement
เครื่องปั่นไฟขนาดใหญ่ หรือเรียกอีกอย่างว่า เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)การใช้งาน เป็นเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าสำรองในกรณีที่กระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้าดับเพื่อให้หน่วยงานมีกระแสไฟฟ้าใช้อย่างต่อเนื่องนั้นเอง
หลักการทำงานของเครื่องปั่นไฟขนาดใหญ่ เครื่องปั่นไฟขนาดใหญ่ เป็นเครื่องกลที่สามารถเปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้าโดยอาศัยการหมุนของขดลวดตัดสนามแม่เหล็กหรือการหมุนสนามแม่เหล็กตัดที่ขดลวด
ลักษณะทั่วไปของ
เครื่องปั่นไฟขนาดใหญ่จำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ชนิด คือ
– เครื่องปั่นไฟขนาดใหญ่กระแสสลับ (Alternator)
– เครื่องปั่นไฟขนาดใหญ่กระแสตรง (Dynamo)
ในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับโดยเครื่องปั่นไฟขนาดใหญ่กระแสสลับประกอบด้วยส่วนใหญ่ ๆ 2 ส่วน คือ
- เครื่องต้นกำลัง เป็นส่วนที่ผลิตพลังงานกลขึ้นมา เพื่อหมุนเพลาของเครื่องปั่นไฟเช่
– กังหันน้ำ ซึ่งได้แก่ เขื่อนต่าง ๆ
– กังหันไอน้ำ ซึ่งได้แก่ การนำเอาน้ำมาทำให้เกิดความร้อนแล้วนำเอาไอน้ำไปใช้งาน
– กังหันแก๊ส มีแบบใช้น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน ส่วนใหญ่ใช้น้ำมันดีเซลเพราะราคาถูก
- เครื่องปั่นไฟขนาดใหญ่ เป็นตัวผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยหลักการเหนี่ยวนำของแม่เหล็กมีหลายแบบดังนี
แบบทุ่นหมุน
แบบนี้ใช้วิธีหมุนขดลวดทองแดงที่พันอยู่บนแกนเพลาหมุนตัดผ่านเส้นแรงแม่เหล็กที่อยู่บนเปลือกทำให้เกิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้นที่ปลายขดลวดทองแดงนำเอาแรงดันไฟฟ้านี้ไปใช้งานโดยผ่าน วงแหวนทองเหลือง และแปรงถ่าน ขั้วแม่เหล็กที่จะทำให้เกิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำนี้ ไม่ได้เป็นแม่เหล็กถาวรหรือแม่เหล็กธรรมชาติที่มีความเข้มของสนามแม่เหล็กคงที่แต่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรงป้อนผ่านขดลวดทองแดงที่พันรอบแกนเหล็กอ่อน เพื่อทำให้เกิดแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้น ปริมาณของไฟฟ้ากระแสตรงนี้จึงสามารถควบคุมปริมาณแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับได้ โดยการเพิ่มหรือลดปริมาณของไฟฟ้ากระแสตรง
แบบขั้นแม่เหล็กหมุน
แบบนี้ใช้วิธีหมุนขั้วแม่เหล็กที่อยู่บนเพลา ทำให้เส้นแรงแม่เหล็กตัดผ่านขดลวดทองแดงที่พันติดอยู่บนเปลือก ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าบนปลายขดลวดทองแดง แบบนี้ไม่ต้องมี วงแหวนทองเหลือง และแปรงถ่าน เพื่อนำแรงดันไฟฟ้าไปใช้งาน แต่มีแปรงถ่านและ วงแหวนทองเหลือง
ต่อกับขดลวดทองแดง ที่พันอยู่บนแกนแม่เหล็ก เพื่อใช้สำหรับป้อนไฟฟ้ากระแสตรงไปเลี้ยงขดลวดทองแดง เพื่อสร้างความเข้มของสนามแม่เหล็ก
ที่มา : https://goo.gl/wjBvMl
[/b]
[/color][/b]
[/b]