ถิ่นกำเนิดบุกและการขยายพันธุ์ของบุกซึ่งมีสรรพคุณมากมายน่าสนใจ

Advertisement


หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ถิ่นกำเนิดบุกและการขยายพันธุ์ของบุกซึ่งมีสรรพคุณมากมายน่าสนใจ  (อ่าน 34 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
watamon
Drift King
*****

การ์ม่า: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 654


ดูรายละเอียด อีเมล์










« เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2017, 03:05:35 pm »



ล้อแม็ก แม็ก แม็กซ์แต่งรถ

↑ ลงทะเบียนรับข่าวสาร

ล้อแม็ก

Advertisement


ถิ่นกำเนิดบุก
บุกเป็นพืชหัว เริ่มเป็นที่รู้จักเมื่อประมาณ 100 กว่าปีมาแล้วโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวอิตาลี Odoardo Beccari  ได้ค้นหาพืชในสกุลบุกชนิดหนึ่ง คือ Amophophallus  titanium (Becc.) Ex  Arcang. ในป่าของประเทศอินโดนีเซียด้วยขนาดดอกที่ใหญ่มหึมาและลักษณะรูปพรรณสัณฐาน  สีสันสวยงาม แปลตาได้ปลุกเร้าความสนใจของนักพฤกษศาสตร์ และคนทั่วไปให้หันมาค้นพบและให้ความสำคัญกับพืชนี้มากขึ้น   และได้ขนานนามดอกไม้ขนาดยักษ์นี้ว่า “ดอกไม้มหัศจรรย์” สายพันธุ์บุกในโลกมีไม่ต่ำกว่า 90 ชนิด  มีถิ่นกำเนิดในประเทศเอเชีย  พบเจอมากที่สุดในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  โดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซียที่พบเจอมากกว่า 80 ชนิด จากการสำรวจพบเห็นว่ามีพืชสกุลบุกอยู่ประมาณ 170 ชนิดทั่วโลก และพบในประเทศไทย 46 ชนิด (เต็ม, 2544 และ Hetterscheid & Ittenbach, 1996) เจริญเติบโตและแพร่กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศโดยเฉพาะบริเวณป่าโปร่งที่เป็นแหล่งอาศัยของพืชพื้นเมือง

  • ภาคเหนือ พบเจอที่  แม่ฮ่องสอน  เชียงใหม่  เชียงราย  พะเยา  ลำพูน  ลำปาง แพร่  น่าน พิจิตร  อุดรดิตถ์  กำแพงเพชร  พิษณุโลก  และสุโขทัย
  • ภาคกลาง พบที่  กรุงเทพมหานคร  นนทบุรี  ธนบุรี  ปทุมธานี  และปราจีนบุรี
  • ภาคใต้      พบที่  ประจวบคีรีขันธ์  ชุมพร  ระนอง  ปัตตานี  พังงา  ภูเก็ต  สุราษฎร์ธานี  กระบี่  ยะลา  และนราธิวาส
  • ภาคตะวันออก พบเห็นในหลายจังหวัดทางฝั่งทะเลตะวันออก
  • ภาคตะวันตก พบเจอที่  สุพรรณบุรี  กาญจนบุรี  และ  เพชรบุรี
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบเห็นมากที่นครราชสีมา และ  บุรีรัมย์

    ลักษณะทั่วไ[/url][/b]
      ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  ไม่ล้มลุกเนื้ออ่อน ลำต้นอวบ สีเขียวเข้ม ตามต้นมีรอยด่างเป็นดวงๆ เขียวสลับขาว  ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว  แตกใบที่ยอด  กลุ่มใบแผ่เป็นแผงคล้ายร่มกางก้านใบต่อเนื่องกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 – 7 ใน รูปใบยาวปลายใบแหลม  ขนาดใบยาว 12 – 15 ซม. ลำต้นสูง 1 – 2 เมตร  ดอกบุกเป็นสีเหลือง บานในตอนเย็นมีกลิ่นเหม็น  คล้ายหน้าวัว ประกอบด้วยปลี  และจานรองดอก  จานรองดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง  12 – 15 ซม. เกสรตัวผู้และตัวเมียรวมอยู่ในดอกเดียวกัน  แต่แยกกันอยู่คนละชั้น  เมื่อบานจานรองดอกจะโรย  เหลืออยู่แต่ปลีดอก  ซึ่งจะกลายเป็นผล  ก่อนออกดอกต้นจะตายเหลือแต่หัว ซึ่งเป็นก้อนกลมสีขาว ขนาด 6 – 10 ซม.เจริญเติบโตอยู่ใต้ดิน
    การขยายพันธุ์
    โดยปกติบุกขยายพันธุ์ได้ตามธรรมชาติด้วยการแตกหน่อหรือเมล็ด  เมื่อเมล็ดบุกแก่จัดจะร่วงกระจัดกระจายลงสู่พื้นดิน  จากการเฝ้าสังเกตของนักพฤกษศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องการกระจายพันธุ์ของบุกรายงานว่าในประเทศอินเดียและประเทศอื่นบางประเทศพบนกเงือกและนกกาเขนกินผลบุก  เนื่องจากผลของบุกส่วนใหญ่มีสีสดใสจึงดึงดูดให้นกมากินซึ่งเป็นการช่วยกระจายพันธุ์บุกตามธรรมชาติอีกวิธีหนึ่ง  สำหรับในประเทศไทยยังไม่เคยมีรายงานในเรื่องนี้ แต่จากการสังเกตในแปลงรวบรวมตัวอย่างบึกพบว่ามีนกปรอดหัวโขนมากินผลซึ่งกำลังสุกแดง  ซึ่งนอกจากนกแล้วมนุษย์ยังเป็นตัวการสำคัญในการกระจายพันธุ์ของบุก โดยการนำส่วนขยายพันธุ์ของบุก คือ เมล็ด หัว และส่วนขยายพันธุ์อื่นไปปลูกตามบ้านเรือนและไร่นา จึงทกให้มีบุกเจริญเติบโตอยู่ทั่วไป
    บุกสามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธีดังนี้

  • โดยวิธีการเพาะเมล็ด บุกสามารถขยายพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติ โดยเมล็ดที่ร่วงหล่นลงดินสามารถงอกเป็นต้นใหม่ได้  จากการวิจัยในห้องปฏิบัติการและภาคสนาม  พบเห็นว่าเมล็ดบุกส่วนใหญ่มีความงอกมากว่า 90%  และบุกบางชนิดมีระยะพักตัวเป็นเวลานานถึง 4 เดือน
  • โดยวิธีการแตกหนอจากหัวเดิม บุกบางชนิดมีหน่อขนาดเล็กเป็นจำนวนมากอยู่บนหัวเดิม  ซึ่งหน่อเหล่านี้  สามารถแยกไปปลูกเป็นต้นใหม่ได้หรือใช้วิธีตัดแบ่งหัวเกา แล้วนำไปปลูกขยายพันธุ์แต่มักมีปัญหาเรื่องหัวเน่า
  • โดยใช้เหง้า (Rhizome) บุกบางชนิดเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีเหง้าแตกออกมาจากหัวเติมโดยรอบมีความยาว 10 – 30 เซนติเมตร นำเหง้ามาตัดแบ่งเป็นท่อนสั้นๆ  แล้วนำไปปลูกขยายพันธุ์ได้อีกวิธีหนึ่ง

 

ขอบคุณบทความจาก : [url]http://www.disthai.com/16488234/%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%81[/url]

Tags : บุก



GPSราคาถูก | เครื่องฟอกอากาศในรถยนต์ | Ran Online | Ragnarok | โปรโมชั่น | เกมส์ออนไลน์

Promotion
บันทึกการเข้า

watamon
Drift King
*****

การ์ม่า: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 654


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 08, 2017, 06:22:25 pm »


บันทึกการเข้า

watamon
Drift King
*****

การ์ม่า: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 654


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 05, 2017, 09:10:29 am »

ถิ่นกำเนิดบุกความรู้เกี่ยวกับที่มาหรือต้นกำเนิดบุก

บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ