Advertisement
เนาวหอยเนาวหอย หรือ นวหอย เป็นชื่อพิกัดเครื่องยาไทยพิกัดหนึ่งประกอบด้วยเปลือกหอยชนิดต่างๆ ๙ ประเภท หรือเป็นชื่อยาหลายขนานที่เข้าเปลือกหอย ๙ ลักษณะ แต่ตำราโบราณให้รายชื่อหอยต่างกัน ๒ แบบ คือ เข้าหอยต่างกันอยู่ ๑ คุณสมบัติ ดังนี้
๑.พระคัมภีร์ไกษย ให้ยาชื่อ “
เนาวหอย” เข้าหอย ๙ ชนิด คือ หอยขม หอยแครง หอยตาวัว หอยพิมพการัง หอยอีรม หอยกาบ หอยจุ๊บแจง หอยมุก และ หอยสังข์ ดังนี้ยาชื่อเนาวหอย
เอากระดูกเสือเผา ๑
กระดูกโคเผา ๑
กระดูกแพะเผา ๑
กระดูกงูเหลือมเผา ๑ สิ่งละ ๑ ส่วน
หอยขมเผา ๑
หอยแครงเผา ๑
หอยตาวัวเผา ๑
หอยพิมพการังเผา ๑
หอยอีรมเผา ๑
หอยกาบเผา ๑
หอยจุ๊บแจงเผา ๑
หอยมุขเผา ๑
หอยสังข์เผา ๑ สิ่งละ ๒ ส่วน
รากทนดี ๓ ส่วน
เจตมูลเพลิง ๑
สหัสคุณเทศ ๑ สิ่งละ ๔ ส่วน
พริกไท ๓๒ ส่วน
ทำเป็นผงบดทำแท่งไว้ ละลายน้ำผึ้งกิน ๑ สลึง แก้ไกษยจุกหายวิเศษนัก ถ้ามิฟังละลายน้ำปูนใสให้รับประทานดูก่อนถ้ามิฟังจึงหุงน้ำมันแก้ต่อไป
ยาขนานนี้เป็นยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ตามประกาศหระทรวงสาธารณสุข เรื่องยาสามัญประจำบ้าน ฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ในประกาศระบุข้อบ่งใช้ว่า “แก้กระษัยจุกเสียด” โดยให้บริโภค “วันละ ๒ ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า-เย็น ครั้งละ ๑ ช้อน กาแฟ หรือผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน”
๒. พระคัมภีร์ธาตุวิภังค์ ให้ยาแก้เถาดาน อันเกิดจากปถวีธาตุพิการ ขนานหนึ่งชื่อ “เนาวะหอย” เข้าเปลือกหอย ๙ จำพวก คือ หอยโข่ง หอยขม หอยอีรม หอยกาบ หอยแครง หอยตาวัว หอยพิมพการัง หอยสังข์ และ หอยมุข ดังนี้
ขนานหนึ่ง
เอาเปลือกหอยโข่ง ๑
เปลือกหอยขม ๑
เปลือกหอยอีรม ๑
เปลือกหอยกาบ ๑
เปลือกหอยแครง ๑
เปลือกหอยตาวัว ๑
เปลือกหอยพิมพการัง ๑
เปลือกหอยสังข์ ๑
เปลือกหอยมุข ๑
กระดูกวัว ๑
กระดูกเสือ ๑
กระดูกแพะ ๑
กระดูกเลียงผา ๑
ยาทั้งนี้เผาไฟให้ไหม้ แล้วชั่งเอาสิ่งละ ๑ ส่วน
รากตองแตก ๑
รากส้มเสี้ยว ๑
รากส้มสันดาน ๑
เอาสิ่งละส่วนกึ่งสหัสคุณเทศ ๒ ส่วน
รากมะตาดเครือ ๒ ส่วนครึ่ง ยาทั้งนี้ประมาณเข้าด้วยกันตั้งไว้เป็นส่วนหนึ่ง เอาพริกไทเท่ายาทั้งหลายตำเป็นผง แล้วเอาขี้เหล็กทั้ง ๕ ฝัก
สำโรง ๑
งวงตาล ๑
ช้าแป้น ๑
ต่อไส้ ๑
ผักโหมหนาม ๑
พันงูแดง ๑
บอระเพ็ด ๑
เผาให้ไหม้ เอาสิ่งละส่วน ปูนขาว ๒ ส่วน ๓ ส่วน ๔ ส่วน ก็ได้เอาแช่น้ำด่างอุ่นไฟให้ร้อน ละลายเท่ายาผงนั้นแก้เถาดาน แลแก้เส้นเอ็นอันกำเริบต่างๆ กินยาเนาวะหอยนี้ หายแล
๓. พระคัมภีร์โรคนิทาน ยาขนานนี้น่าจะเป็นยาขนานเดียวกับยาที่ให้ไว้ในพระคัมภีร์ธาตุวิภังค์ สำหรับยาแก้เถาดาน ดังนี้
ขนานหนึ่ง
เอาเปลือกหอยโข่ง ๑
หอยขม ๑
หอยแครง ๑
หอยตาวัว ๑
หอยกาบ ๑
หอยมุก ๑
หอยสังข์ ๑
หอยพิมพการัง ๑
หอยอีรม ๑
กระดูกเสือ ๑
กระดูกวัว ๑
กระดูกแพะ ๑
กระดูกควายเผือก ๑
ยาเหล่านี้เผาไผให้ไหม้ หนักสิ่งละ ๔ บาท
รากตองแตก ๑
รากส้มเสี้ยว ๑
ส้มสันดาน ๑
เอาสิ่งละ ๖ บาท
สหัสคุณเทศ ๓ ตำลึง
รากมะตาดเครือ ๑o บาท
ปูนผง ๓ บาท
พริกไทยเท่ายาทั้งหลายทำเป็นจุณแล้วจึงเอา
ด่างขี้เหล็ก ๑
ด่างงวงตาล ๑
ด่างสำโรง ๑
ด่างช้าแป้น ๑
ด่างต่อไส้ ๑
ด่างผักโหนมหนาม ๑
ด่างพันงูแดง ๑
ด่างบรเพ็ด ๑
ยาทั้งนี้แช่เป็นด่างอุ่นไฟให้ร้อน ละลายยาเนาวหอย กินแก้เส้นเป็นดานเป็นเถาเป็นก้อน แลแก้เส้นแตกให้ปวดกำเริบต่างๆ บริโภคยานี้หายแล ยาสองขนานหลังนี้มี “หอยโข่ง” แทน “หอยจุ๊บแจง” ในขนานแรก
ถ้าเอาเปลือกหอยมาเผาไฟให้สุกดี จะได้ “ปูนหอย” ใช้เป็นยาแก้กรดในกระเพาะอาหาร แก้โรคลำไส้และไตพิการ ขับลมในลำไส้ ขับปัสสาวะ แก้จุกเสียดท้องแน่น ทำให้มีลมผายและลมเรอ และเป็นยาบำรุงกระดูก ถ้าเอาน้ำคั้นขมิ้นชันใส่ลงไปในปูนหอยที่ได้นี้ จะได้ “ปูนแดง” ที่ใช้กินกับหมากพลู
Tags : สรรพคุณส้มเเขกเนาวหอย,ประโยชน์เนาวหอย