Advertisement
1.
กระชายดำฤทธิ์ป้องกันอักเสบ สาร 5,7 – ได้เมธอกซีฟลาโวน (5,7-DMF) ที่แยกได้จาก
เหง้ากระชายดำ มีฤทธิ์ป้องกันการอักเสบเทียบได้กับยามาตรฐานหลายชนิด คือ แอสไพริน , อินโดเมธาซิน , ไฮไดรคอร์ติโซน และเพรดนิโซโลน จากการศึกษาฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบของสารนี้ ในสัตว์ทดลองด้วยวิธีการต่าง ๆ พบว่าสาร 5,7-DMF สามารถต้านการอักเสบแบบเฉียบพลันได้ดีกว่าแบบเรื้อรัง โดยกระชายดำแสดงฤทธิ์ยับยั้งการบวมของอุ้งเท้าหนูขาวจากสารคาราจีนแนน และเคโอลินได้ดีกว่าฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง granuloma จากการฝังสำลีใต้ผิวหนัง นอกจากนี้ พบว่า สาร 5,7-DMF ของกระชายดำยังมีฤทธิ์ยับยั้งการเกิด exudation และการสร้างสาร prostaglandin อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบในช่องปอดของหนูขาว (rat pleurisy) (วงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุล และอำไพ ปั้นทอง,2528)
2.กระชายดำฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ สาร 5,7,4'-trimethoxyflavone และ 5,7,3' ,4' –tetramethoxyflavone แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Plasmodium falciparum ที่เป็นสาเหตุของโรคมาลาเรีย ส่วนสาร 3,5,7,4'-tetramethoxyflavone และ 5,7,4'-trimethoxyflavone แสดงฤทธิ์ช่วยต้านการเชื้อ Candida albicans และแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ Mycobacterium อย่างอ่อน (Wattanapitayakui S, Nawinprasert A, Herunsalee A, et al,2003)
3.กระชายดำพิษต่อเซลล์มะเร็ง (cytotoxic activity) จากการทดสอบผลของฟลาโวนอยด์ 9 ชนิดของกระชายดำต่อเซลล์มะเร็ง เช่น KB , BC หรือ NCI-H187 ไม่พบว่ามีสารใดทำให้เกิดพิษต่อเซลล์มะเร็งที่ทดสอบ (วงศ์วิวัฒน์ ทัศนียกุล และอำไพ ปั้นทอง,2528)
4.กระชายดำฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดง มีรายงานการวิจัยว่า สารสกัด
กระชายดำด้วยเอธานอลขอ
กระชายดำ[/url]มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ (aorta) ละลดการหดเกร็งของ ลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) ของหนูขาว และยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดของคน.(Yenchai C, Prasaphen K, Doodee S, et al,2004)
Tags : กระชายดำ,เหง้ากระชายดำ,กระชาย