เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเงื่อนไขการให้บริการการรับสินค้าของธุรกิจสายการเดินเรือ
เมื่อพิจารณาจากการขนส่งทางทะเล ที่มีสัดส่วนของสินค้าที่ทำการขนส่งได้เข้าสู่ระบบการใช้
ตู้คอนเทนเนอร์ (Containerization) มากขึ้นเป็นลำดับ ดังนั้นเมื่อเกิดความบกพร่องในการขนส่งจนทำให้สินค้าที่อยู่ใน
ตู้คอนเทนเนอร์เกิดความเสียหาย
ก็จะมีการเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้รับขนส่ง คือจากฝ่ายเจ้าของสินค้าที่เสียหาย
ส่วนมากก็มาจากผู้รับประกันภัยสินค้า ซึ่งได้จ่ายค่าสินไหมให้กับเจ้าของสินค้าไปแล้ว
ส่วนผู้ที่ถูกเรียกค่าเสียหายซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นบริษัทที่ปฏิบัติการเรือ หรือเจ้าของเรือ
ก็จะประกันความเสียหายในส่วนนี้ไว้กับ
P&I Clubs เมื่อมองดูจากด้านบนของเรื่องการประกันภัยทางทะเลที่มีการประกันต่อ และการแบ่งซอยความเสี่ยงในระดับของการรับประกันต่อที่ซับซ้อน
ในระบบ
Treaty (Proportion/ Annual) และ
Facultative(Case by Case) ของทั้งกลุ่มที่รับประกันภัยสินค้า กับกลุ่มP&I Clubs ที่ป้องกันและชดใช้ให้เจ้าของเรือนั้นก็จะไปทำการประกันต่อ ในส่วนที่เหนือจากส่วนรับผิดชอบขั้นต่ำ
ของแต่ละระดับของผู้เอาประกัน ภัยทางทะเลเหล่านั้น ซึ่งในโลกนี้
ก็มีกลุ่มการประกันภัยอยู่ไม่มากที่รับการเสี่ยงขนาดใหญ่ที่มีอยู่ในตลาดลอนดอน นิวยอร์ก
โตเกียว และเยอรมัน ดังนั้น หากไม่เป็นการเสียหายแบบผิดปกติธรรมดามากๆ
คือในเรื่องสามัญธรรมดา การเจรจาต่อรองของการประกันทั้งสองกลุ่ม
ก็สามารถตกลงกันได้ นอกศาล ไม่จำเป็นต้องนำเรื่องมาถึงศาล
หรือในประเทศที่นิยมการใช้ อนุญาโตตุลาการก็มักจะส่งเรื่องให้ อนุญาโตที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางการค้าทางทะเล
(Shippingmen) เป็นผู้ตัดสินให้ซึ่งสามารถทำให้ทั้งสองฝ่ายทุ่นค่าใช้จ่าย และเวลามากขึ้น
ที่จำต้องนำเรื่องการเรียกร้องค่าเสียหายมาเกริ่นไว้ปะหน้าก็เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุว่า การประกันภัยในระดับสูงนั้น บางครั้งก็ อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
และมีผลประโยชน์ร่วมกันอยู่ ดังนั้น ความเสียหายขนาดใหญ่ๆ จึงสามารถเจรจาต่อรองกันได้
และโดยที่ ในยุคหน้าก็จะมีการขนส่งสินค้าด้วยระบบคอนเทนเนอร์มากขึ้น ดังนั้น
สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ เงื่อนไขของการ ขนส่งด้วยคอนเทนเนอร์
ตามหัวข้อข้างบนว่า จะมีความหมายอย่างไร?และลักษณะรูปแบบในการทำงานตามเงื่อนไขนั้นๆ เป็นอย่างไร? เพื่อที่ว่า เมื่อเข้าใจตรงกันแล้ว ก็ไม่ต้องมาเรียกร้องต่อกันท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะเคยทราบมาบ้างแล้ว ก็สามารถ เปรียบเทียบกับความเข้าใจเดิมที่ท่านได้เคยให้ไว้กับคำเหล่านี้
หรือความลึกซึ้งของความหมาย รวมถึงกลไกในการใช้เงื่อนไขในด้านความถูกต้องยุติธรรม และนำไปสู่ขั้นสุดท้ายคือ
การตัดสินคดีความต่างๆ ที่เกี่ยวกับเงื่อนใขที่กำหนด และธรรมชาติของการใช้เงื่อนใข
ความตั้งใจในการขนส่งแบบนี้ ก่อนอื่นต้องการให้ท่านทราบความหมาบของคำเหล่านั้นว่า
หมายถึงอะไร?
FCL - full container load: หรือหมายถึงการบรรทุกสินค้าใส่ตู้จนเต็มที่ full carload: ก็คือการบรรทุกสินค้าเต็มคันรถ (รถไฟ)
LCL - less container load: หรือบรรทุกสินค้าใส่ตู้ไม่เต็มloose container load: หรือก็คือ การบรรทุกแบบหลวมๆ (ยังบรรทุกได้อีก)less than carload: ก็คือ บรรทุกไม่เต็มคันรถ (รถไฟ) loosecarload: บรรทุกหลวมๆ (บรรทุกได้อีก)
CY - container yard: หมายถึง ลานที่เก็บ
ตู้คอนเทนเนอร์ CFS - container freight station: หมายถึงสถานที่จัดสินค้าใส่ หรือเอาสินค้าออกจาก
ตู้คอนเทนเนอร์