Advertisement
วันที่ 28 กันยายน 60 จะเป็นวันแรกที่รัฐบาลประกาศให้เป
ธงชาติไทยผืนแรก คือ ธงแดงเกลี้ยงถือกำเนิดด้วยความบังเอิญในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2199 - พ.ศ. 2231) เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2223 เรือเลอโวตูร์ เรือรบของฝรั่งเศสมีนายเรือชื่อ มองซิเออร์ คอนูแอน ได้นำเรือรบลำนี้เข้ามาบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเจริญพระราชไมตรี และทำการค้ากับอยุธยา
โดยมีธรรมเนียมประเพณีคือต้องชักธงประเทศบนเรือเพื่อแสดงสัญลักษณ์ว่า มาถึงแล้ว เมื่อเรือฝรั่งเศสชักธงชาติของตัวเองขึ้น ฝ่ายสยามยิงสลุตคำนับตามธรรมเนียม ขณะเดียวกันสยามเองต้องชักธงขึ้นด้วยเพื่อตอบกลับว่า ยินดีต้อนรับ แต่ตอนนั้นทหารประจำป้อมวิไชยเยนทร์ไม่เคยพบประเพณีแบบนี้
และสยามไม่มีธงสัญลักษณ์ที่ใช้เป็นธงชาติมาก่อน จึงคว้าผ้าที่วางอยู่แถวนั้น แต่ดันหยิบธงชาติฮอลันดาชักขึ้นเสาแบบส่งเดช เมื่อทหารฝรั่งเศสเห็นก็ตกใจไม่ยอมชักธงและไม่ยอมยิงสลุต จนกว่าจะเปลี่ยนธงชาติ เพราะนั่นไม่ใช่ธงประจำประเทศไทยและขณะนั้นฝรั่งเศสกับฮอลันดาเป็นศัตรูกัน
ฝ่ายไทยจึงแก้ปัญหาโดยชักผ้าสีแดงขึ้นแทนธงชาติฮอลันดา ฝรั่งเศสจึงยอมยิงสลุตคำนับตอบ เหตุการณ์ดังกล่าวจึงถือกันว่าเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ธงชาติไทย และธงแดงจึงเป็นธงประจำชาติผืนแรกของไทยอย่างไม่เป็นทางการ
ธงชาติไทยผืนแรก คือ ธงแดงเกลี้ยงถือกำเนิดด้วยความบังเอิญในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2199 - พ.ศ. 2231) เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2223 เรือเลอโวตูร์ เรือรบของฝรั่งเศสมีนายเรือชื่อ มองซิเออร์ คอนูแอน ได้นำเรือรบลำนี้เข้ามาบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเจริญพระราชไมตรี และทำการค้ากับอยุธยา
โดยมีธรรมเนียมประเพณีคือต้องชักธงประเทศบนเรือเพื่อแสดงสัญลักษณ์ว่า มาถึงแล้ว เมื่อเรือฝรั่งเศสชักธงชาติของตัวเองขึ้น ฝ่ายสยามยิงสลุตคำนับตามธรรมเนียม ขณะเดียวกันสยามเองต้องชักธงขึ้นด้วยเพื่อตอบกลับว่า ยินดีต้อนรับ แต่ตอนนั้นทหารประจำป้อมวิไชยเยนทร์ไม่เคยพบประเพณีแบบนี้
และสยามไม่มีธงสัญลักษณ์ที่ใช้เป็นธงชาติมาก่อน จึงคว้าผ้าที่วางอยู่แถวนั้น แต่ดันหยิบธงชาติฮอลันดาชักขึ้นเสาแบบส่งเดช เมื่อทหารฝรั่งเศสเห็นก็ตกใจไม่ยอมชักธงและไม่ยอมยิงสลุต จนกว่าจะเปลี่ยนธงชาติ เพราะนั่นไม่ใช่ธงประจำประเทศไทยและขณะนั้นฝรั่งเศสกับฮอลันดาเป็นศัตรูกัน
ฝ่ายไทยจึงแก้ปัญหาโดยชักผ้าสีแดงขึ้นแทนธงชาติฮอลันดา ฝรั่งเศสจึงยอมยิงสลุตคำนับตอบ เหตุการณ์ดังกล่าวจึงถือกันว่าเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ธงชาติไทย และธงแดงจึงเป็นธงประจำชาติผืนแรกของไทยอย่างไม่เป็นทางการ
จากธงแดงล้วนสู่ ธงวงจักร และ ธงช้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูปจักรสีขาวลงในธงแดง สำหรับใช้เป็นธงของเรือหลวง" สาเหตุที่พระองค์กำหนดให้ใช้ "จักร" ลงไว้กลางธงผ้าพื้นแดง เพื่อแสดงความแตกต่างระหว่างเรือของพระมหากษัตริย์ กับเรือของราษฎรสยาม ที่ใช้ธงผ้าพื้นแดงเกลี้ยงนั่นเอง
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พระองค์ทรงได้ช้างเผือกเอก 3 ช้าง เป็นเกียรติยศยิ่งต่อแผ่นดิน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มรูปช้างเข้าภายในวงจักรของเรือหลวงไว้ด้วย อันมีความหมายว่า พระเจ้าแผ่นดินอันมีช้างเผือก ช้างคือสัญลักษณ์แห่งแผ่นดินของกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ประเทศไทยมีการทำสนธิสัญญากับชาติตะวันตกมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระราชดำริว่าสยามจำเป็นต้องมีธงชาติใช้ตามธรรมเนียมของชาติตะวันตก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงพื้นสีแดงมีรูปช้างเผือกเปล่าอยู่ตรงกลางหันหน้าเข้าหาเสาธงเป็นธงชาติ โดยไม่มีวงจักรล้อมรอบตัวช้าง
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ธงที่ใช้กับเรือหลวง ถูกปรับรูปแบบอีกครั้ง จากช้างสีขาวธรรมดา ปรับให้เป็น "ช้างทรงเครื่องยืนแท่น" หันหน้าเข้าข้างเสา เนื่องจากช้างเผือกเปรียบเป็นเครื่องแทนตัวของพระมหากษัตริย์แล้ว
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://news.sanook.com/3668694/คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง :
ข่าววันนี้Tags : ข่าวด่วน, ข่าวสังคม