Advertisement
จากกรณีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่6และ7/2558 ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) พ.ศ.2557 โยกย้ายผู้บริหารระดับสูงกระทรวงศึกษาธิการ และยุติบทบาทการทำงานของ สกสค. และคณะกรรมการครุสภา ชุดปัจจุบัน เพื่อตรวจสอบการทุจริตและปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานเท่านั้น โดยไม่ได้มองถึงการแก้ปัญหาระดั
อุดมศึกษา[/url]ที่สะสมมาอย่างยาวนาน
ทั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชญานุช วีรสาร ภาควิช
นิเทศศาสตร์[/url] คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส) ได้แสดงความคิดเห็นผ่าน กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ สะท้อนปัญหาระดับ
อุดมศึกษาที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญในการปฏิรูป โดยเฉพาะภาระงานอาจารย์ที่ไม่ใช่เรื่องการสอนหรือทำวิจัย แต่เป็นการต้องเสียเวลาไปกับการทำเอกสารตามกรอบ มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา หรือ มคอ.
ผศ.ชญานุช เปิดเผยว่า อันที่จริง มคอ. หรือ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษานั้น เป็นเรื่องของเอกสารล้วนๆ ซึ่งทุกวันนี้การเขียนมคอ. ได้สร้างความเดือดร้อนรำคาญใจให้แก่ครูบาอาจารย์ไม่น้อยที่ต้องแบกรับภาระดังกล่าว ตั้งแต่ มคอ.1 ถึง มคอ.7 โดยเฉพาะ มคอ.1 เทียบได้กับรัฐธรรมนูญของแต่ละสาขาวิชา ทุกสถาบันต้องยึดแนวทางการทำหลักสูตรให้สอดคล้อง มคอ.1 เหมือนกันทุกแห่ง เพื่อจะได้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น หลักสูตร
นิเทศศาสตร์ ขณะนี้ยังไม่มีมคอ.1 จุดประสงค์เพื่อทำให้
นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ กับ
นิเทศศาสตร์ มมส มีคุณภาพทัดเทียมกัน เพราะสกอ.กำหนดไว้ว่า ต้องมีมาตรฐานผลการเรียนรู้ของหลักสูตรใน สาขา/สาขาวิชาและระดับคุณวุฒิเดียวกันที่เทียบเคียงกันได้ ในเชิงหลักการก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดี แต่ในความเป็นจริงเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าคุณวุฒิของอาจารย์ผู้สอนของสองสถาบันนี้แตกต่างกันอยู่แล้ว
อีกทั้ง จำนวนอาจารย์ก็ต่างกัน งบประมาณสนับสนุนการเรียนการสอนก็ต่างกัน คะแนนการคัดเลือกเด็กเข้าเรียนก็ต่างกันอย่างสิ้นเชิง จะให้มมส สอนแล้วได้เด็กอย่างจุฬาฯ สอน มันไม่เป็นไปไม่ได้ ดูอย่างโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เด็กสอบแข่งขันกันเป็นพันเป็นหมื่น เพราะเขาเชื่อว่าคุณภาพต่างจากโรงเรียนอื่น แม้จะพยายามเปลี่ยนชื่อโรงเรียนอื่นให้เป็นเตรียมอุดมศึกษาเหมือนกันก็ตาม ฉะนั้น มมส จะผลิตบัณฑิตออกมาให้มีผลการเรียนรู้ของหลักสูตรเท่าจุฬาฯ หรือ ธรรมศาสตร์ จึงเป็นเรื่องยากมาก แต่ สกอ. พยายามให้อาจารย์หลอกตัวเองด้วยการเขียนเอกสารเท็จใน มคอ. 3 และ 5 ในทุกๆ เทอมว่า แผนการสอนดี การสอนก็ดี เด็กก็เรียนดี เพื่อจะได้ผ่านประเมินคุณภาพการศึกษา โดยไม่ได้คำนึงถึงความรู้ความสามารถที่แท้จริง ซึ่งนับจะเป็นการทำร้ายเด็กทางอ้อมเมื่อเขาจบออกไปสู่ตลาดแรงงาน
หากจะใช้ ม.44 มาบังคับให้ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง มคอ. โดยตรงอาจจะทำไม่ได้ แต่ถ้า คสช. จะช่วยจริงๆ ก็น่าจะเข้ามาดูว่าในทางปฏิบัติมันเละเทะอย่างไรบ้าง ให้ครูบาอาจารย์ได้สะท้อนความจริงที่เกิดขึ้น เปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ปฏิบัติงานมากกว่ารับฟังแค่ผู้บริหารในกระทรวงที่ออกคำสั่งหรือคิดนโยบายเท่านั้น..
ถึงอย่างไร ผลการประเมินที่ได้มันก็ดีหมดอยู่แล้ว เนื่องจากประเมินจากเอกสารเพียงอย่างเดียว ไม่มีใครเขียนให้ตัวเองตกเพราะไม่อยากถูกปิดหลักสูตรทั้งที่ความจริงอาจตรงข้ามกัน ซึ่งถ้ายังคงเป็นเช่นนี้อยู่ การศึกษาไทยจะไม่เดินไปข้างหน้า จริงๆ เรื่องแบบนี้ไม่ต้องถึงขั้นใช้ ม.44 ก็ได้ แต่หากต้องการความเด็ดขาดและรวดเร็ว ก็ยกเลิกคำสั่ง หรือนโยบายการประเมินเอกสารทั้งหมดเลยจะดีกว่า ถึงจะเรียกได้ว่าปฏิรูปการศึกษาอย่างแท้จริง ผศ.ชญานุช ระบุ