ทารกแรกเกิดวิกฤต

Advertisement


หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทารกแรกเกิดวิกฤต  (อ่าน 22 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
itroom0016
หัดขับ
*

การ์ม่า: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 43


ดูรายละเอียด อีเมล์










« เมื่อ: มิถุนายน 20, 2018, 12:28:58 pm »



ล้อแม็ก แม็ก แม็กซ์แต่งรถ

↑ ลงทะเบียนรับข่าวสาร

ล้อแม็ก

Advertisement

          ในประเทศไทยมีเด็กเกิดใหม่ปีละ 800,000 ราย และมีทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยประมาณ 9% หรือประมาณ 72,000 คน บางรายมีความพิการต้องเป็นภาระแก่ครอบครัวในการดูแลอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และครอบครัวที่มีลูกเป็นทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยต้องรับภาระค่าใช้จ่ายสูงในการเลี้ยงดูและรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น รวมทั้งมีภาระดูแลความพิการซ้ำซ้อนที่ตามมา โดยร้อยละ 75 ของทารกน้ำหนักน้อยที่รอดชีวิต ในช่วงต้นของชีวิตมักมีปัญหาในด้านการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการตามมา เช่น ปัญหาในด้านการเรียน การมองเห็น โรคทางเดินหายใจ โรคทางเดินอาหาร หรือการเป็นเด็กพิการ ปัญญาอ่อน

          ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย มีความเสี่ยงหรือความไวสูงต่อการเจ็บป่วย พิการ หรือเสียชีวิตในระยะปริกำเนิดหรือระยะขวบปีแรก และยังมีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ พัฒนาการล่าช้าในทุกด้านมากกว่าเด็กที่มีน้ำหนักแรกเกิดตั้งแต่ 2,500 กรัมขึ้นไป จึงต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ พยาบาล ผู้เชี่ยวชาญสาขากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดโดยเฉพาะ
          ศูนย์ดูแลผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤต โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ (Chularat 3 International Neonatal Intensive Care Unit - NICU) เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงมุ่งมั่น ให้บริการดูแลรักษาทารกแรกเกิดที่อยู่ในภาวะวิกฤติหรือทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงสูงให้รอดชีวิตโดยปราศจากโรคแทรกซ้อน หรือป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนให้น้อยที่สุด รวมทั้งให้คำปรึกษาตรวจวินิจฉัยทารกผิดปกติก่อนคลอด ด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านต่างๆ ร่วมกับกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขากุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิด และทีมพยาบาลที่มีประสบการณ์ ในการดูแลทารกแรกเกิดวิกฤต อย่างใกล้ชิด ตั้งแต่ก่อนคลอดจนถึงหลังคลอด ด้วยเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย
          ศูนย์ดูแลผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤต โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ (Chularat 3 International Neonatal Intensive Care Unit - NICU) หรือ ห้องอภิบาลทารกแรกเกิดมีพร้อมสรรพด้วยแพทย์และเจ้าหน้าที่ดูแล พร้อมด้วยระบบเฝ้าติดตามและสัญญาณเตือน อุปกรณ์ในการช่วยหายใจและการกู้ชีพ สามารถติดต่อกุมารแพทย์เฉพาะทางได้ทุกสาขา บริการห้องแล็บตลอด 24 ชั่วโมง

          เครื่องจะบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจ อัตราหายใจ ความดันโลหิตและอุณหภูมิร่างกาย นอกจากนี้ยังมีเครื่องวัดปริมาณออกซิเจนในเลือดด้วย คุณอาจสังเกตว่าลูกน้อยแรกเกิดมีแผ่นแปะเล็กๆ หรือปลอกสวมตามตัว เช่น บนอก ขา แขนและส่วนอื่นๆ ของร่างกาย แผ่นแปะและปลอกสวมเหล่านี้มีลวดเชื่อมต่อกับเครื่องเฝ้าติดตามซึ่งคล้ายจอโทรทัศน์และจะแสดงผลเป็นตัวเลขต่างๆ

* ในห้องอภิบาลทารกแรกเกิดมักมีสัญญาณเตือนดังเป็นระยะ สัญญาณเตือนนี้ไม่ได้หมายถึงเหตุฉุกเฉินเสมอไป แต่ส่วนใหญ่จะเป็นสัญญาณที่ดังเป็นกิจวัตรประจำอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องวิตก
วิธีการช่วยหายใจ (ขึ้นกับความต้องการของทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนดแต่ละคน)
หลอดสอดคาท่อลม – เป็นสายซึ่งใช้สอดลงหลอดลมของทารกแรกเกิดเพื่อส่งออกซิเจนและอากาศอุ่นๆ  เติมความชื้นแก่ทารก
เครื่องช่วยหายใจ – เป็นอุปกรณ์ช่วยหายใจซึ่งเชื่อมต่อกับหลอดสอดคาท่อลมข้างต้นและจะเฝ้าติดตามปริมาณออกซิเจน ความดันอากาศและจำนวนครั้งของการหายใจ
เครื่องปรับความดันบวกตลอดทางเดินหายใจ (C-PAP) – วิธีการนี้จะใช้กับทารกที่สามารถหายใจได้เองแล้ว แต่ยังต้องการความช่วยเหลือให้ส่งอากาศลงไปที่ปอด
กล่องออกซิเจน – เป็นกล่องพลาสติกใสใช้วางครอบศีรษะทารกและต่อกับสายซึ่งจะปั๊มออกซิเจนให้ทารก
วิธีการให้อาหาร (ขึ้นกับความต้องการของทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนดแต่ละคน)
สายน้ำเกลือ – สายเหล่านี้จะสอดเข้าในหนังศีรษะ แขนหรือขาทารกเพื่อส่งสารอาหารเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรงและมักใช้กับทารกคลอดก่อนกำหนดที่ระบบย่อยอาหารยังเติบโตไม่เต็มที่และไม่สามารถดูด กลืนและหายใจตามปกติได้ บางครั้งยังใช้วิธีการนี้ระหว่างรักษาภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ด้วย
หลอดสวนสายสะดือ – เป็นการผ่าตัดสอดหลอดสวนเข้าไปในเส้นเลือดของสายสะดือ วิธีนี้ไม่เจ็บ แต่มีความเสี่ยง เช่น อาจเกิดการติดเชื้อและเลือดเป็นลิ่มได้ ดังนั้นแพทย์จึงมักเลือกใช้วิธีนี้ในกรณีที่จำเป็นจริงๆ และทารกอาจต้องพึ่งการให้อาหารด้วยวิธีนี้เป็นเวลานานหลายสัปดาห์ สำหรับทารกในกรณีเช่นนี้ หลอดสวนสายสะดือเป็นวิธีรับสารอาหารที่มีประสิทธิภาพที่สุด
สายให้อาหารทางปากและจมูก – วิธีการนี้จะใช้สายที่มีความยืดหยุ่นสอดเข้าทางจมูกหรือปากของทารกซึ่งพร้อมจะย่อยนมแม่หรือนมผงดัดแปลงสูตรทารกแล้ว แต่ยังไม่สามารถดูด กลืนหรือหายใจได้อย่างสัมพันธ์กัน
สายหลัก (บางครั้งเรียกว่าสาย PICC) – คือสายน้ำเกลือซึ่งจะสอดเข้าในเส้นเลือดที่ใหญ่กว่า โดยมักเป็นที่แขน วิธีการนี้ช่วยส่งสารอาหารและยาซึ่งอาจทำให้เส้นเลือดเล็กๆ บอบช้ำระคายเคืองได้
อุปกรณ์อื่นๆ
ตู้อบ – ตู้อบคือเปลพลาสติกใสที่ให้ความอบอุ่นแก่ทารก รวมทั้งช่วยปกป้องทารกจากเชื้อโรคและเสียงรบกวน
ไฟส่องภาวะตัวเหลือง – คือไฟฟลูออเรสเซนต์สีฟ้าสว่างจ้าซึ่งจะติดไว้เหนือตู้อบเพื่อช่วยรักษาภาวะตัวเหลือง

ทีมแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่
          เจ้าหน้าที่ในห้องอภิบาลทารกแรกเกิดมักประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการหายใจ ผู้เชี่ยวชาญกิจกรรมบำบัด โภชนากร ที่ปรึกษาเรื่องนมแม่ เภสัชกร เจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์และกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทารกแรกเกิด หากคุณพ่อคุณแม่ทราบว่าลูกน้อยแรกเกิดได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดีที่สุดจากเจ้าหน้าที่ก็จะช่วยให้สบายใจและเบาใจลงได้
ศูนย์ผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย (NICU) โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ มีความพร้อมในระบบการทำงานด้าน

  • การป้องกันก่อนคลอด (Primary Prevention)
  • การดูแลให้เหมาะสมตั้งแต่นาทีแรก เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนในระยะยาว
  • การดูแลต่อเนื่อง ทั้งการรักษาทั่วไป, การให้ออกซิเจนและการช่วยหายใจ
  • เน้นการให้นมแม่เพื่อป้องกัน NEC, ROP, Infection โดยการจัดห้องให้มารดาได้พักช่วงเวลากลางวันเพื่อปั๊มนมได้ 2-3 รอบ /วัน
  • การวางแผน แนะนำ ให้ความรู้การดูแลแก่พ่อแม่ เมื่อทารกอาการดีขึ้นพร้อมกลับบ้าน เพื่อลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับการดูแลทารกที่บ้าน


  • พ่อแม่และผู้ดูแล จะได้มาฝึกการเลี้ยงดูทารกก่อนกลับบ้าน 2 สัปดาห์ เพื่อสร้างความมั่นใจและการดูแลที่ถูกวิธี
  • สอนวิธีการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นให้ทารกน้ำหนักน้อยกว่า 1,500 กรัม ในกรณี ชัก สมองขาดออกซิเจน
  • สอนวิธีการสังเกตความผิดปกติของทารก เช่น ซึม หายใจลำบาก ตัวเขียว ฯลฯ
  • แนะนำการบันทึกเรื่องการดูดนม การขับถ่ายทุกวันในช่วงสัปดาห์แรก
  • มีการติดตาม โทรสอบถามพัฒนาการของทารกหลังจากกลับบ้านเป็นเวลา 1 สัปดาห์ และ บริการตอบปัญหาหรือข้อสงสัยทางโทรศัพท์ตลอด 24 ชั่วโมง
ผลงานเด่นและความภาคภูมิใจที่ผ่านมา

  • การดูแลทารกที่คลอดก่อนกำหนด โดยทารกน้ำหนักตัวน้อยต่ำสุด 540 กรัมให้รอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ
  • มีการนำ Early nasal CPAP มาใช้เพื่อลดการใช้ Ventilator ในทารกแรกเกิดวิกฤต
  • มีการนำ Heated Humidifier High Flow Nasal Cannula มาใช้เพื่อป้องกันการ injury ของ airway และใช้ generate CPAP
  • ใช้ T-piece Resuscitator (Neopuff) มาใช้ในการ resuscitate ทารก เพื่อลด Lung injury เพราะสามารถควบคุม PIP/PEEP ได้
  • มีการนำ Blender มาใช้ในการให้ Therapy ร่วมกับ  rescitator  เพื่อป้องกันภาวะ hyperoxia ในทารกแรกเกิด
  • มีการนำ Metronome ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการให้จังหวะดนตรีมาใช้ในการให้จังหวะ Rate การช่วยหายใจ
  • ปรับปรุง Incubator Transport ให้มี blender, T-piece resuscitator, CPAP, Pulse oximeter, Heated Humidifier, Ventilator transport เพื่อควบคุมการช่วยหายใจให้เหมาะสมตลอดเวลาขณะเคลื่อนย้าย
  • มีการสอน CPR พ่อแม่และผู้ดูแล ทารกก่อนกลับบ้านในทารกกลุ่มเสี่ยง (น้ำหนัก 1,500 กรัม, ชัก, HIE)


เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง : [url]http://www.chularat.com/service_detail.php?lang=th&gid=3&id=6[/url]

Tags : ทารกแรกเกิดวิกฤต



GPSราคาถูก | เครื่องฟอกอากาศในรถยนต์ | Ran Online | Ragnarok | โปรโมชั่น | เกมส์ออนไลน์

Promotion
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ