[img width=700,height=439]https://i0.wp.com/www.108news.net/wp-content/uploads/2018/07/Heart-valve-leak1.jpg[/img]ลักษณะและหน้าที่ของลิ้นหัวใจหัวใจมีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกาย ประกอบด้วยห้องหัวใจ 4 ห้อง โดยมี [url=http://www.chularat.com/service_detail.php?lang=th&gid=3&id=11]ลิ้นหัวใ ซึ่งเป็นอวัยวะที่คอยปิดและเปิดให้เลือดผ่านเข้าออกในแต่ละห้องหัวใจทั้งหมดจำนวน 4 ลิ้น ได้แก่ ลิ้นเอออร์ติก (Aortic Valve) ลิ้นไมตรัล (Mitral Valve)
ลิ้นไตรคัสปิด (Tricuspid Valve) และลิ้นพูลโมนิค (Pulmonic Valve)
ลิ้นทั้งสี่นี้จะทำงานประสานกันเพื่อให้หัวใจสามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้
หากลิ้นหัวใจมีความผิดปกติ ไม่ว่าจะเกิดการตีบ (Stenosis) หรือรั่ว
(Regurgitation) จะทำให้การทำงานของหัวใจผิดปกติด้วย
ไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ตามปกติ นอกจากนั้นยังอาจทำให้มีเลือดคั่งในปอด
ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยง่าย ถ้าเป็นมากขึ้น จะนอนราบศีรษะต่ำไม่ได้
เนื่องจากอาการแน่น และเหนื่อยหายใจลำบาก
พยาธิสภาพหรือสาเหตุของความผิดปกติของลิ้นหัวใจ แบ่งได้ดังนี้
1) ความพิการของลิ้นหัวใจแต่กำเนิด(Congenital Valve Disease) เช่น [url=http://www.chularat.com/service_detail.php?lang=th&gid=3&id=11]ลิ้นหัวใจตี
แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจผิดปกต
- การรักษาด้วยยา (Medical Treatment)[/*]
- การรักษาด้วยบอลลูน (Percutaneous Balloon mitral valvulotomy, PBMV) เป็นการรักษาโรคลิ้นหัวใจไมตรัลตีบ โดยการใส่สายสวนที่มีบอลลูน
เข้าทางเส้นเลือดดำที่ขาหนีบ และสอดบอลลูนนี้ไปถึงลิ้นที่ตีบ
และขยายลิ้นโดยบอลลูนนั้
- การขยายลิ้นหรือซ่อมลิ้น (Valve Repair)[/*]
- การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (Valve Replacement)[/*]
ประเภทของลิ้นหัวใจ (Heart Valve for Replacement)1) ลิ้นหัวใจเทียม (Mechanical Valve)มีชนิดลูกบอล ทำจากสาร Silastic และชนิดโลหะเป็นบานพับ (Disc Valve) ทำงานเหมือนการปิดเปิดของประตูหรือหน้าต่าง
ข้อดี: ลิ้นหัวใจเป็นโลหะ จึงคงทนไม่มีการเสื่อมสลาย
ข้อเสีย: ต้องกินยากันเลือดแข็ง (anticoagulation) ตลอดชีวิต
- เกิดลิ่มเลือดจากลิ้นหัวใจได
- เกิดการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจใหม่ได
- มีเสียงของลิ้นหัวใจดังรบกว
2) ลิ้นหัวใจจากเนื้อเยื่อสัตว์ (Bioprosthesis, Tissue Valve)มี 2 ชนิด คือ ลิ้นหัวใจหมู (Porcine Valve) และลิ้นหัวใจที่ทำจากเยื่อหุ้มหัวใจของวัว (Bovine Pericardium)
ข้อดี: ไม่ต้องกินยากันเลือดแข็งและเกิดลิ่มเลือดที่ลิ้นหัวใจน้อย
ข้อเสีย: ลิ้นหัวใจใหม่จะเสื่อมสภาพภายใน 5-10 ปี ทำให้ต้องทำผ่าตัดใหม่
3) ลิ้นหัวใจของมนุษย์ (Homograft Heart Valve)จากผู้บริจาคอวัยวะ วิธีนี้เป็นการนำลิ้นหัวใจจากผู้เสียชีวิตที่ได้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะไว้ตั้งแต่ก่อนเสียชีวิต
หรือได้รับอนุญาตจากญาติผู้เสียชีวิตให้นำลิ้นหัวใจมาใช้ประโยชน์ได้
ซึ่งถ้านำมาผ่านกระบวนการเตรียมและเก็บโดยวิธีพิเศษจะสามารถเก็บรักษาไว้ใช้ได้ถึง
5 ปี ผู้เสียชีวิตที่สามารถบริจาคลิ้นหัวใจมี 3 ประเภท คือ 1)
ผู้เสียชีวิตจากสมองตาย ที่บริจาคอวัยวะเพื่อการปลูกถ่ายอวัยวะ
แต่หัวใจมีสภาพไม่เหมาะสมที่จะนำไปปลูกถ่ายได้ 2)
ผู้เสียชีวิตที่หัวใจหยุดเต้น
ทั้งนี้ผู้บริจาคต้องไม่มีข้อห้ามในการนำลิ้นหัวใจไปใช้ ซึ่งจะพิจารณาจาก
อายุ สาเหตุการเสียชีวิต ระยะเวลาที่เสียชีวิต การติดเชื้อต่าง ๆ เป็นต้น
3) ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายหัวใจใหม่
สามารถบริจาคหัวใจดวงเก่าไม่มีพยาธิสภาพที่ลิ้นหัวใจ
ข้อดี:โอกาสเกิดการติดเชื้อของลิ้น ต่ำมาก อายุการใช้งานนานพอสมควร (10-22 ปี) ไม่ต้องรับประทานยากันเลือดแข็งตัว เสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือด
ที่ลิ้นหัวใจน้อย ไม่มีเสียงของลิ้นหัวใจดังรบกวน
ดีมากในกรณีโรคลิ้นหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ
ข้อเสีย:ต้องได้จากผู้บริจาคอวัยวะเท่านั้น มีความสลับซับซ้อนในขั้นตอนการเก็บรักษา (Valve Preservation) กา