Advertisement
เทคนิคสำหรับการบำรุงรักษาเครื่องจักรอุตสาหกรรมปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ หรือเครื่องจักรและอุปกรณ์มาใช้ในกระบวนการผลิต ดังนั้นเพื่อที่จะสามารถใช้งานเครื่องจักรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้เครื่องจักรหยุดการทำงานเนื่องจากการชำรุดน้อยที่สุด ซึ่งการบำรุงรักษาสามารถแบ่งได้ ดังนี้
1. การบำรุงรักษาหลังเกิดเหตุขัดข้อง เป็นการบำรุงรักษาเครื่องจักร เมื่อเกิดการชำรุดและหยุดการทำงานโดยฉุกเฉิน
2. การบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกัน เป็นการบำรุงรักษาเพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของเครื่องจักร โดยมีการตรวจสภาพเครื่องจักร การทำสะอาด มีการปรับแต่งเครื่องจักร รวมถึงการบำรุงและเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยการบำรุงรักษาชนิดนี้ สามารถแบ่งย่อยได้ 2 แบบ คือ
- การบำรุงรักษาตามระยะเวลา (Periodic Maintenance หรือ Time Based Maintenance: TBM) คือ การดำเนินการอยู่เป็นระยะ ๆ ผ่านการตรวจสอบ ทำความสะอาดอุปกรณ์ และเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่เพื่อป้องกันความเสียหายอย่างฉับพลัน หรือเกิดปัญหาต่อกระบวนการผลิต
- การบำรุงรักษาแบบคาดการณ์ (Predictive Maintenance) คือ การให้ความสำคัญและใส่ใจกับชิ้นส่วนที่สำคัญของเครื่องจักร เป็นการคาดการณ์ผ่านการตรวจสอบ หรือวินิจฉัย เพื่อที่จะให้ชิ้นส่วนนั้น ๆ สามารถใช้งานได้ครบอายุการใช้งานจริง ๆ
3. การบำรุงรักษาเชิงแก้ไขปรับปรุง เป็นการปรับปรุงแก้ไข และดัดแปลงเครื่องจักรหรือชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องจักร เพื่อเป็นการพัฒนาและง่ายต่อการบำรุงรักษา