ประมาทฝ่ายเดียวกับประมาทร่วมต่างกันที่ตรงไหน

Advertisement


หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประมาทฝ่ายเดียวกับประมาทร่วมต่างกันที่ตรงไหน  (อ่าน 26 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
saibennn9
Full Member
***

การ์ม่า: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 149


ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์










« เมื่อ: มกราคม 25, 2019, 04:57:12 pm »



ล้อแม็ก แม็ก แม็กซ์แต่งรถ

↑ ลงทะเบียนรับข่าวสาร

ล้อแม็ก

Advertisement

หลายๆท่านที่เข้ามาอ่านคอมเม้นท์นี้คงจะต้องการทราบว่า อย่างไร เรียกว่า " ประมาท " แล้วอย่างไรจึงเรียกว่า "ประมาทฝ่ายเดียว" แน่นอนละครับ เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้ว ต่างฝ่ายต่างก็ต้องยืนยันตนเองว่า ฝ่ายตนเองเป็นฝ่ายที่ถูกต้อง ขับรถมาถูกเลนแล้ว อีกฝ่ายขับรถมาชนรถของตนเองเอง คำกล่าวอ้างเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ได้ยินกันบ่อยครั้ง(ทนายความเชียงใหม่)
          เรามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า คำว่าประมาทนั้น มีคำจำกัดความว่าอย่างไร ซึ่งตามกฎหมายแล้ว มีการบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรอยู่ใน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรค 4 บัญญัติว่า  กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่

 
        เราจะมาแยกคำในกฎหมายดังกล่าวออกเป็นข้อๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจดังนี้
        คำว่า กระทำผิดโดยมิใช่โดยเจตนา นั้น หมายความว่า ผู้ที่ขับรถของตนเองไปชนรถของผู้อื่น จะต้องไม่มีความคิดท่ีจะขับรถของตนเองไปชนกับรถของผู้อื่น อย่างนี้ จึงจะหมายความว่า ไม่มีเจตนาที่จะกระทำต่อผู้อื่น หากมีความต้องการที่จะขับรถของตนไปชนกับรถของผู้อื่นแล้ว นั้น เรียกว่า เป็นการกระทำโดยเจตนา ส่วนจะมีความผิดฐานใดนั้น ของให้ท่านผู้อ่านติดตามต่อไปในบทความหน้า
        คำว่า กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง นั้น ตามกฎหมายแล้ว ได้แบ่งการพิจารณาคำว่า ปราศจากความระมัดระวังไว้ ๓ คำ คือ ภาวะ วิสัย และพฤติการณ์
        มาพิจารณาคำว่า "ภาวะ" กันเลย ภาวะนั้น หมายความว่า เป็นกำลังทำอะไรอยู่ในตอนนั้น เช่น กำลังขับรถ กำลังกินข้าว กำลังอ่านหนังสือ กำลังเล่นเกมส์ กำลังดูทีวี เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ เรียก ภาวะ
        ต่อมาเป็นคำว่า "วิสัย" หมายความว่า คนนั้นๆ กำลังทำในสิ่งที่เป็นภาวะ เช่น ขับรถก็ใช้มือขับสองข้าง ขับรถจะกลับก็ต้องมองกระจก เป็นต้น
        ส่วนคำว่า "พฤติการณ์" หมายความว่า เป็นกระทำของคนส่วนใหญ่ว่า ในเหตุการณ์นั้นๆ ผู้คนส่วนใหญ่ที่ทำเช่นนั้น เค้าทำกันอย่างไรให้ปลอดภัย
        เมื่อเข้าใจแล้วว่า คำว่าประมาทมาจากการพิจารณา ๓ คำเป็นหลัก คือ ภาวะ วิสัย และพฤติการณ์
           
            ดังนั้น การจะดูว่า ประมาทหรือไม่ จะต้องดูที่ ภาวะ วิสัย และพฤติการณ์ ว่า ในเหตุนั้น ควรทำเช่นไร หากเป็นการกระทำที่ควรทำแล้ว ย่อมไม่เป็นการกระทำโดยประมาท(ทนายเชียงใหม่)
            มีคำพิพากษาศาลฎีกาได้ตัดสินเอาไว้ คือ
            คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5082/2533
            จ.ขับรถอยู่ในทางเดินรถ เห็นชามกะละมังหล่น ขวางทางอยู่จึงชะลอความเร็วและหยุดรถเพื่อไม่ให้ชนชามกะละมัง จำเลยขับรถแล่นตามหลังมาชนท้ายรถของ จ. เช่นนี้ ถือไม่ได้ว่า จ. มีส่วนประมาทร่วมด้วย และถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อเพราะผู้ที่ขับรถตามหลังรถคันอื่นมีหน้าที่ต้องระมัดระวังไม่ให้รถแล่นไปชนท้ายรถคันที่แล่นอยู่ข้างหน้า โดยต้องทิ้งระยะให้ห่างพอสมควรที่จะชะลอความเร็ว หรือหยุดรถได้ทันท่วงทีเมื่อรถคันหน้าได้ชะลอความเร็วหรือต้องหยุดรถไม่ว่ากรณีใด ๆ โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยและรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดโจทก์ชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์ใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันภัยเท่านั้น หามีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดไม่ และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

เครดิต : [url]https://www.นพนภัสทนายความเชียงใหม่.com/[/url]

Tags : ทนายเชียงใหม่,ทนายความเชียงใหม่,ทนายความเชียงใหม่



GPSราคาถูก | เครื่องฟอกอากาศในรถยนต์ | Ran Online | Ragnarok | โปรโมชั่น | เกมส์ออนไลน์

Promotion
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ