Advertisement
โทษประหารชีวิตในประเทศไทยตามประมวลกฎหมายอาญา ประเทศไทยมีโทษทางอาญา สำหรับผู้กระทำความผิดทางอาญา ดังนี้
(1) ประหารชีวิต
(๒) จำคุก
(๓) กักขัง
(๔) ปรับ
(๕) ริบทรัพย์สิน
โทษประหารชีวิต ถือเป็นโทษหนักสุดของการลงโทษผู้กระทำความผิด ซึ่งวิธีการประหารชีวิต จะกระทำโดยวิธีการฉีดยาหรือสารพิษเข้าสู่ร่างกายของผู้ต้องโทษประหารชีวิต
ข้อยกเว้น ผู้กระทำความผิดที่ได้กระทำความผิดที่มีระวางโทษประหารชีวิต แต่ที่ไม่ต้องรับโทษประหารชีวิต
โทษประหารชีวิตและโทษจำคุกตลอดชีวิตจะไม่นำมาใช้บังคับแก่ผู้กระทำความผิดในขณะที่มี
อายุต่ำกว่าสิบแปดปี >>> ผู้กระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีได้กระทำความผิดที่มีระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ให้ถือว่าระวางโทษดังกล่าวได้เปลี่ยนเป็นระวางโทษจำคุกห้าสิบปี
สิทธิของนักโทษประหารชีวิต๑. สิทธิในการถวายเรื่องราวขอพระราชทานอภัยโทษ
๒. ได้รับการตรวจสุขภาพจิต และสำหรับนักโทษหญิงต้องได้รับการตรวจการตั้งครรภ์ด้วย
๓. สิทธิในการแสดงเจตนาจัดการทรัพย์สิน
๔. เขียนจดหมายหรือส่งข้อความบอกกล่าว หรือจะโทรศัพท์พูดกับญาติหรือผู้ใด หรือมีความประสงค์จะทำสิ่งใด ซึ่งเจ้าพนักงานเรือนจำพิจารณาแล้วเห็นสมควรก็ให้เรือนจำอำนวยความสะดวกให้ แต่การส่งข้อความหรือการพูดคุยโทรศัพท์สามารถกระทำได้ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร ทั้งนี้ให้เรือนจำจัดเตรียมโทรศัพท์หรือเครื่องมือสื่อสารไว้เป็นกาเฉพาะ
๕. ให้เรือนจำสอบถามนักโทษถึงอาหารมื้อสุดท้าย และหากไม่เป็นการเหลือวิสัยให้
เรือนจำจัดให้ตามสมควรและเหมาะสม
๖. ก่อนจะนำตัวไปประหารชีวิต ให้นักโทษได้มีโอกาสประกอบพิธีกรรมทางศาสนาหรือลัทธิตามความเชื่อของตนในเวลาที่พอเหมาะ
ขั้นตอนการประหารชีวิตเมื่อถึงเวลาประหารชีวิตนักโทษ ให้เรือนจำจัดพนักงานของเรือนจำรักษาความปลอดภัยและระวังเหตุให้อยู่ในความเรียบร้อยตามสมควรแล้วนำนักโทษที่จะทำการประหารชีวิตไปยังสถานที่ซึ่งได้เตรียมไว้ และดำเนินการดังนี้
(๑) นำตัวนักโทษที่จะทำการประหารชีวิตให้นอนลงบนเตียงที่จัดเตรียมไว้เพื่อการประหารชีวิต พร้อมทั้งทำการพันธนาการป้องกันมิให้นักโทษดิ้นรนขัดขืน
(๒) ให้เจ้าพนักงานของเรือนจำซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยคำสั่งของผู้บัญชาการเรือนจำจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการไว้ให้พร้อม และทำการแทงเข็มสำหรับฉีดยาหรือสารพิษเข้าเส้นเลือดในร่างกายของนักโทษที่จะถูกประหารรอไว้โดยต่อเข้ากับสายท่อหรืออุปกรณ์บรรจุยาหรือสารพิษที่จะปล่อยเข้าสู่ร่างกายของนักโทษที่จะถูกประหาร พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องตรวจวัดสัญญาณการเต้นของหัวใจเข้ากับร่างกายนักโทษที่จะถูกประหาร หันจอแสดงให้คณะกรรมการและสักขีพยานได้สังเกตเห็นโดยชัดเจน
(๓) เมื่อการดำเนินการตามข้อ (๒) เสร็จเรียบร้อย และได้รับสัญญาณให้ทำการประหารชีวิต ให้เจ้าพนักงานเรือนจำผู้ทำการฉีดยาหรือสารพิษจัดการปล่อยหรือฉีดยาหรือสารพิษเข้าสู่ร่างกายของนักโทษประหารให้ตายเสียต่อหน้าคณะกรรมการและสักขีพยาน
(๔) ให้แพทย์ประจำเรือนจำที่ทำการประหารชีวิตนักโทษหรือแพทย์ของทางราชการ๑ คน ร่วมกับคณะกรรมการตามข้อ ๗ ตรวจพิสูจน์การตายของนักโทษ โดยให้แพทย์และคณะกรรมการทำบันทึกยืนยันการตายของนักโทษที่ถูกประหารชีวิต และประกาศผลการประหารชีวิตให้สักขีพยานทราบในวันนั้น
ให้เรือนจำจัดเก็บศพของนักโทษที่ถูกประหารชีวิตไว้ในเรือนจำเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า ๑๒ ชั่วโมง เมื่อล่วงเลยระยะเวลาดังกล่าวแล้วให้แพทย์ของทางราชการร่วมกับผู้บัญชาการเรือนจำตรวจสอบโดยทำบันทึกยืนยันการตายอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อนักโทษเสียชีวิตแล้วให้เรือนจำแจ้งญาติทราบในโอกาสแรก หากมีญาติมาขอรับ
ให้มอบศพนั้นไป แต่ถ้าไม่มีญาติมาขอรับก็ให้จัดการเผาหรือฝังตามที่เรือนจำจะเห็นสมควรต่อไป
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง :
ทนายเชียงใหม่เครดิต :
[url]https://www.xn--42cgi4cjab1btnchd1exbza5gvad6dvnqc6f.com/[/url]
Tags : ทนายความเชียงใหม่ , ที่ปรึกษาทางกฎหมาย