Advertisement
ขนมไทย ส่วนมากจะมีคุณสมบัติเฉพาะในตนเอง ถูกทำออกมาด้วยความปราณีต ละเอียด ขนมไทยบางชนิดได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก ถูกนำมาประยุกต์ใช้สูตรส่วนผสมให้เหมาะสมกับวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น ขนมไทยโดยส่่วนใหญ่หลายๆ ชนิดจะมีส่วนผสมในการทำคล้ายๆ กันคือ จะประกอบไปด้วย แป้ง น้ำตาล กะทิ และไข่ และแต่งเติมกลิ่นหอมด้วยส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ใบเตย ดอกมะลิ ดอกกระดังงา เป็นต้น
ขนมไทย นิยมนำมาใช้ในงานมงคลต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานบวช เนื่องจากขนมไทยส่วนใหญ่มีชื่อเป็นมงคลและมีความหมายที่ดี เช่น ในงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ หรือทำบุญเปิดกิจการใหม่ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง มักนิยมนำมาใช้ในงานทำบุญเนื่องจากขนมไทยเหล่านี้มีสีเหลืองอร่ามเหมือนทองคำ จึงเปรียบเสมือนกับให้บ้านใหม่ หรือกิจใหม่ เจริญรุ่งเรืองมีเงินทองมากมาย
ในงานแต่งงาน ของคนสมัยโบราณ จะให้ความสำคัญในเรื่องของข้าวปลาอาหารและขนมที่นำมาจัดเลี้ยงในงาน ใส่ใจในรายละเอียดปลีกย่อยทุกขั้นตอนในการทำ เช่น มีการแกะตกแต่งผักผลไม้ให้สวยงาม ส่วนขนมไทย ก็เช่นกัน มักเลือกขนมที่มีชื่อและความหมายที่ดี เป็นมงคล ต่อคู่บ่าวสาว มาจัดเลี้ยงในงาน เช่น
- ขนมโพรงแสม เปรียบเสมือนได้กับ เสาบ้านอันเป็นที่พักพังให้ความมั่งคงกับทั้งคู่
- ขนมนมสาว เปรียบเปรยได้กับ แสงสว่างนำทางการใช้ชีวิต
- ขนมฝักบัว ที่มีคำนิยามแสดงความสูงส่งของการใช้ชีวิตสมรส
- ขนมสามเกลอ หมายถึง ให้อยู่ด้วยกันยั่งยืนนาน ไม่แยกจากกัน
- ขนมกง หมายถึง มีความเป็นอยู่อย่างเป็นสุข เปรียบเหมือนให้คู่บ่าวสาวได้ใช้ชีวติเคียงข้างกันด้วยใจคอที่หลักแน่น มีความรักให้กันตลอดกาล เหมือนกงล้อเกวียน
- ช
งานแสดงความยินดีพิธีการต่างๆ เช่น งานเลี้ยงแสดงความยินดีได้เลื่อนยศ งานเลื้ยงยินดีเลื่อนตำแหน่ง งานเหล่านี้ถือเป็นการแสดงความยินดี และอวยพร มักนิยมทำขนมไทย ดังต่อไปนี้มาเลื้ียงภายในงาน
- ขนมจ่ามงกุฏ เป็นขนมไทย ที่ทำยากอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขึ้นตอน การทำสลับซับซ้อน เพราะว่ามีชื่อเป็นมงคล จึงนิยมนำมาใช้ในงานเลี้ยงแสดงความยินดีได้เลื่อนตำแหน่ง
- ขนมทองเอก เป็นขนมไทย อีกอย่างที่มีชื่อเป็นมงคล ชนิดนี้จะมีความสง่างามต่างจาก ขนมไทย อื่นๆ เพราะว่าจะมีทองคำเปลว ติดไว้ที่ด้านบน จึงทำให้นี้หมายถึง ความเป็นที่หนึ่ง
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง :
ขนมไทย โบราณTags : ขนมไทย,ขนมไทย ของหวาน