หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท

Advertisement


หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท  (อ่าน 42 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
freespod
Sr. Member
****

การ์ม่า: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 291


ดูรายละเอียด อีเมล์










« เมื่อ: สิงหาคม 19, 2015, 07:13:35 pm »



ล้อแม็ก แม็ก แม็กซ์แต่งรถ

↑ ลงทะเบียนรับข่าวสาร

ล้อแม็ก

Advertisement

หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท

แนวทางการวินิจฉัย

โดยส่วนใหญ่แล้วอาการปวดหลังมักไม่ได้เกิดจากสาเหตุที่ร้ายแรง ซึ่งแพทย์สามารถให้การวินิจฉัยจากประวัติ และการตรวจร่างกาย เท่านั้น ก็สามารถให้การรักษาได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องเอ๊กซเรย์กระดูกสันหลัง

แต่ถ้าอาการปวดเป็นมากขึ้น หรือ หลังจากให้การรักษาแล้วไม่ดีขึ้น ก็อาจจำเป็นต้องถ่ายภาพรังสี (เอ๊กซเรย์) ซึ่งการถ่ายภาพรังสีแบบปกติจะเห็นเฉพาะกระดูกเท่านั้น ไม่เห็นเนื้อเยื่อ เช่น กล้ามเนื้อ หรือ หมอนรองกระดูก ในบางกรณีจึงอาจต้องเอ๊กซเรย์คอมพิวเตอร์ ( ซีที ) เอ๊กซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้า (เอ็มอาร์ไอ) หรือ ฉีดสีเข้าในไขสันหลัง



อาการ และอาการแสดง

หมอนรองกระดูก จะทำให้เกิดความยืดหยุ่น และรับแรงกระแทกของกระดูกสันหลัง ทำให้หลังมั่นคงแข็งแรง แต่ เมื่ออายุมากขึ้น ส่วนประกอบที่เป็นน้ำภายในหมอนรองกระดูกจะลดลง ทำให้ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นลดลง

ถ้ามีแรงมากระทำต่อหมอนรองกระดูกในลักษณะเฉียง ๆ เช่น ก้มหลังยกของหนัก หรือ ยกของแล้วเอี้ยวตัว เป็นต้น ก็จะทำให้หมอนรองกระดูกแตกออก ทำให้เกิดปวดหลัง หลังแข็ง ก้มหลังหรือเอี้ยวตัวไม่ได้

ถ้าหมอนรองกระดูกที่แตกออกมาไปกดทับเส้นประสาท ก็จะมีอาการปวดหลัง ร่วมกับมีอาการปวดร้าวไปที่ขา ขาชา หรือ ขาอ่อนแรง ร่วมด้วย

อ่านต่อเรื่อง การกดทับเส้นประสาท ได้ที หน้านี้นะครับ ทำเพิ่มเติม มีภาพให้ดูด้วยว่า เป็นอย่างไร ..
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=28-07-2008&group=5&gblog=36



แนวทางการรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด

ผู้ป่วยโดยส่วนใหญ่จะดีขึ้นจากวิธีรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด มีเพียงส่วนน้อยที่เป็นมากจนต้องรักษาด้วยวิธีผ่าตัด การรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดมักจะต้องใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าจะดีขึ้น ( เฉลี่ย 6 เดือน - 2 ปี )

มีแนวทางการรักษาคือ

ลดน้ำหนัก งดเหล้า งดบุหรี่ ปรับเปลี่ยนท่าทางในการดำเนินชีวิตประจำวันให้เหมาะสม

ควรหยุดพักการใช้หลัง ในขณะที่มีอาการปวดมาก เช่น หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือ นอนพักในท่าที่สบาย แต่ไม่ควรนอนพักนานเกินกว่า 2-3 วัน เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดพังผืด ทำให้กลายเป็นปวดหลังเรื้อรังได้มากขึ้น และหายช้ากว่าปกติ ยิ่งกลับมาดำเนินชีวิตประจำวันได้เร็วเท่าไร อาการปวดหลังก็จะดีขึ้นเร็วเท่านั้น

ประคบบริเวณที่ปวดด้วยน้ำแข็งหรือน้ำอุ่น โดยใช้น้ำแข็งใส่ในถุงพลาสติกแล้วห่อด้วยผ้า หรือ ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น ประคบประมาณ 10 - 15 นาที หรือ อาจ[/url]

รับประทานยาบรรเทาอาการปวด เช่น ยาพาราเซตามอล ยาแก้ปวดลดอาการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ

ทำกายภาพบำบัด เพื่อบรรเทาอาการปวด เช่น ดึงหลัง อบหลังโดยใช้ความร้อนลึก(อัลตร้าซาวน์) หรือ ใส่เฝือกอ่อนพยุงหลัง (เครื่องรัดหลัง) การบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง เป็นต้น


โดย หมอหมู



GPSราคาถูก | เครื่องฟอกอากาศในรถยนต์ | Ran Online | Ragnarok | โปรโมชั่น | เกมส์ออนไลน์

Promotion
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

ฐานข้อมูลผิดพลาด
ลองอีกครั้ง ถ้าเกิดการผิดพลาดอีกครั้ง ให้แจ้งผู้ดูแลระบบด้วย
กลับ